Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/814
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรทิพย์ เกยุรานนท์ | th_TH |
dc.contributor.author | ธีรวัลย์ แสงสุวรรณ, 2504- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-08-20T05:11:58Z | - |
dc.date.available | 2022-08-20T05:11:58Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/814 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี่เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วัดระดับแรงจูงใจในการ ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล จังหวัดชุมพร 2) ศึกษาผลการดำเนินงานของสถานีอนามัยในจังหวัดชุมพร 3) หาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลกับผลการดำเนินงานของสถานีอนามัย จังหวัดชุมพร และ 4) ศึกษาแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล จังหวัดชุมพร ประชากรที่ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยจังหวัดชุมพรทุกคน จำนวน 266 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจที่มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.97 และแบบบันทึกผลการดำเนินงานของสถานีอนามัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลของจังหวัดชุมพรมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยภาพรวม และในแต่ละปัจจัยทั้งปัจจัยจูงใจและปัจจัยคำจุน อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านของปัจจัยจูงใจ พบว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลมีแรงจูงใจอยู่ในระดับสูง 3 ด้าน คือ ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ด้านโอกาสการเจริญเติบโตด้านส่วนตัว และด้านความรับผิดชอบ และมีแรงจูงใจอยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน คือ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติและด้านความก้าวหน้าของงาน ส่วนแรงจูงใจในแต่ละด้านของปัจจัยคำจุน พบว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลมีแรงจูงใจอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้น ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านสภาพการทำงานที่มีแรงจูงใจอยู่ในระดับสูง 2) มีสถานีอนามัยที่มีผลการดำเนินงานของสถานีอนามัยในภาพรวมผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 61.29 3) แรงจูงใจทั้งภาพรวมและรายปัจจัยไม่มีความลัมพันธ์กับผลการดำเนินงานของสถานีอนามัยในภาพรวม แต่ปัจจัยคำจุนมีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานเฉพาะด้านวิชาการในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลได้เสนอแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานทั้งในปัจจัยจูงใจและปัจจัยคำจุนในทุกด้าน โดยแนวทาง 3 อันดับแรก คือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและเครือข่ายบริการสุขภาพควรจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นให้เพียงพอในการทำงาน ควรจัดกิจกรรมสันทนาการเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคลากร และควรสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Reformatted digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | การจูงใจในการทำงาน | th_TH |
dc.subject | เจ้าหน้าที่สาธารณสุข--ไทย--ชุมพร | th_TH |
dc.subject | เจ้าหน้าที่สาธารณสุข--ไทย--ชุมพร--ความพอใจในการทำงาน. | th_TH |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลกับผลการดำเนินงานของสถานีอนามัย จังหวัดชุมพร | th_TH |
dc.title.alternative | The relationship between working motivation of Sub - District health officers with health centers' performances in Chumphon province | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
dc.degree.name | สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this descriptive research were to (1) measure the level of working motivation of sub-district health officers in Chumphon province, (2) study the performances of health centers in Chumphon province, (3) investigate the relationship between working motivation of sub-district health officers with health centers’ performances in Chumphon province, and (4) figure out the guideline to encourage working motivation for sub-district health officers in Chumphon province. The population of the study consisted of 266 sub-district health officers in Chumphon province. Data were collected by a questionnaire on working motivation with the reliability of 0.97, and a health center performance record form. Percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s Coefficient were used in statistical analyses. Results of the study showed that (1) the overall working motivation factors, including motivation and hygiene factors, of sub-district health officers in Chumphon province were at moderate levels. Regarding each aspect of motivation factors among sub-district health officers, the result yielded that achievement, career growth opportunity, and responsibility were at high levels whilst recognition, job characteristics, and advancement were at moderate levels. In regard to hygiene factors, all aspects were at moderate levels except interpersonal relationship and work condition, which were at high levels; (2) 61.29 % of Chumphon province health centers passed the primary health care unit performance standard; (3) Motivation, neither overall nor individual factor was related to the health centers’ performances in Chumphon province but the hygiene factors were significantly related to health centers’ performances at a low level (p<.05); (4) Sub-district health officers suggested the guideline to encourage the working motivation in all aspects of motivation and hygiene factors. The top three suggestions were that the provincial health office and health service network should provide sufficient equipments, provide recreation activities for relationship development among officers, and perpetually provide staff development programs | en_US |
dc.contributor.coadvisor | วรางคณา ผลประเสริฐ | th_TH |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
114316.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License