กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/814
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลกับผลการดำเนินงานของสถานีอนามัย จังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between working motivation of Sub - District health officers with health centers' performances in Chumphon province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรทิพย์ เกยุรานนท์
ธีรวัลย์ แสงสุวรรณ, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วรางคณา ผลประเสริฐ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
การจูงใจในการทำงาน
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข--ไทย--ชุมพร
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข--ไทย--ชุมพร--ความพอใจในการทำงาน.
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี่เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วัดระดับแรงจูงใจในการ ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล จังหวัดชุมพร 2) ศึกษาผลการดำเนินงานของสถานีอนามัยในจังหวัดชุมพร 3) หาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลกับผลการดำเนินงานของสถานีอนามัย จังหวัดชุมพร และ 4) ศึกษาแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล จังหวัดชุมพร ประชากรที่ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยจังหวัดชุมพรทุกคน จำนวน 266 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจที่มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.97 และแบบบันทึกผลการดำเนินงานของสถานีอนามัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลของจังหวัดชุมพรมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยภาพรวม และในแต่ละปัจจัยทั้งปัจจัยจูงใจและปัจจัยคำจุน อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านของปัจจัยจูงใจ พบว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลมีแรงจูงใจอยู่ในระดับสูง 3 ด้าน คือ ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ด้านโอกาสการเจริญเติบโตด้านส่วนตัว และด้านความรับผิดชอบ และมีแรงจูงใจอยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน คือ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติและด้านความก้าวหน้าของงาน ส่วนแรงจูงใจในแต่ละด้านของปัจจัยคำจุน พบว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลมีแรงจูงใจอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้น ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านสภาพการทำงานที่มีแรงจูงใจอยู่ในระดับสูง 2) มีสถานีอนามัยที่มีผลการดำเนินงานของสถานีอนามัยในภาพรวมผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 61.29 3) แรงจูงใจทั้งภาพรวมและรายปัจจัยไม่มีความลัมพันธ์กับผลการดำเนินงานของสถานีอนามัยในภาพรวม แต่ปัจจัยคำจุนมีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานเฉพาะด้านวิชาการในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลได้เสนอแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานทั้งในปัจจัยจูงใจและปัจจัยคำจุนในทุกด้าน โดยแนวทาง 3 อันดับแรก คือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและเครือข่ายบริการสุขภาพควรจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นให้เพียงพอในการทำงาน ควรจัดกิจกรรมสันทนาการเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคลากร และควรสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/814
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
114316.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons