Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8150
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorวิไล วัฒนดำรงค์กิจ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพจมาลย์ เพิ่มพูลโชคคณา, 2499--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-07-25T03:32:20Z-
dc.date.available2023-07-25T03:32:20Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8150-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสำเร็จของการบริหารงานพัสดุของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อนโอกาสและข้อจำกัดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริหารงานพัสดุของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาระบบบริหารงานพัสดุของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านการ พัสดุของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานด้านการพัสดุ 41 คน ผู้ทำหน้าที่ กรรมการตามระเบียบพัสดุ 106 คน ผู้มีอำนาจอนุมัติการดำเนินการด้านการพัสดุ 17 คนรวม 164 คน โดย การศึกษาข้อมูลด้านเอกสาร แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ในส่วนของการวิเคราะห์เชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์การ ถดถอย ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบบริหารงานพัสดุของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยตัวแปรอิสระของระบบบริหารงานพัสดุ เรียง ตาม ลำดับได้แก่ ด้านความถูกต้อง ความโปร่งใส กฎระเบียบ ความรวดเร็วในการให้บริการ ความคุ้มค่า และ ระบบบริหารงานคล่องตัว โดยเมื่อวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการบริหารงานพัสดุ พบว่ามีระดับ ความสำเร็จร้อยละ 64 โดยมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่สำคัญ คือ จุดแข็งด้านความรู้ของเจ้าหน้าที่พัสดุในเรื่อง กฎระเบียบ และจุดอ่อนด้านการขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการปฏิบัติงาน รวมทั้งมีโอกาสและข้อจำกัดที่ สำคัญ คือ โอกาสด้านการมีระเบียบว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ฉบับใหม่ พ.ศ. 2549 ของ ทางราชการใช้ในการปฏิบัติงานและข้อจำกัดด้านการปฏิบัติตามระเบียบพัสดุของทางราชการ ส่วนปัจจัยที่มี อิทธิพลทางบวกกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบบริหารงานพัสดุเรียงตามลำดับได้แก่ ปัจจัยด้าน ความถูกต้อง ความคุ้มค่า ระบบบริหารงานคล่องตัว และความโปร่งใสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรนำตัวแบบด้านการบริหารงานพัสดุแนวใหม่ไปใช้เป็นแนว ทางในการพัฒนาระบบบริหารงานพัสดุของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ต่อไป รวมทั้งควรมีการจัดทำ ระเบียบด้านการพัสดุของมหาวิทยาลัยเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฎิบัติงานมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิด ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบบริหารงานพัสดุของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2006.163en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการจัดการวัสดุth_TH
dc.subjectการจัดซื้อของทางราชการ -- ไทยth_TH
dc.titleการพัฒนาระบบบริหารงานพัสดุของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.title.alternativeDeveloping the inventory management system of Sukhothai Thammathirat Open Universityth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to (1) study the success of inventory management of Sukhothai Thammathirat open University (STOU) (2) study strength, weakness, opportunity and threat of Sukhothai Thammathirat Open University (3) study factors that affect the success of the development of inventory management of Sukhothai Thammathirat Open University and (4) provide suggestions in developing the inventory management system. This research was a survey research. The research sample totaling 164 randomly selected persons consisted of 41 inventory management staffs, 106 inventory management committees, and 17 inventory management heads. Instrument used were questionnaires and interviews. The employed statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test and multiple regression. It can be concluded from the research that the efficiency and effectiveness of the inventory management system was at moderate level. Independent factors which affected the efficiency and effectiveness of inventory management system were correctness, transparency, rules and regulations, time, value for money, and flexibility respectively. As for level of success, 64 percent of success was found. Significant strength, weakness, opportunity and threat were identified as follows ; strength on rules and regulations knowledge of inventory management staffs, weakness was lack of advanced technology employed in the operations. As for opportunity, there were new official rules and regulations in 2006 are available for common practice. Meanwhile, limitation were official rules and regulations effected consumed and complicated process becomes the threat. Also, the positive factors affecting the efficiency and effectiveness of the inventory management system were correctness, value for money, flexibilities, and transparency respectively, with .05 level of significance. It was recommended that new model of inventory management should be employed in order to develop the efficiency and the effectiveness of STOU inventory management system. Also, the university rules of the inventory management system should be developed so to build in more flexibility in the system operations. After the actions, the efficiency and effectiveness of STOU inventory management system could then be expectedth_TH
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
98040.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.15 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons