กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8150
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบบริหารงานพัสดุของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Developing the inventory management system of Sukhothai Thammathirat Open University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิไล วัฒนดำรงค์กิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พจมาลย์ เพิ่มพูลโชคคณา, 2499-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
การจัดการวัสดุ
การจัดซื้อของทางราชการ -- ไทย
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสำเร็จของการบริหารงานพัสดุของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อนโอกาสและข้อจำกัดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริหารงานพัสดุของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาระบบบริหารงานพัสดุของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านการ พัสดุของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานด้านการพัสดุ 41 คน ผู้ทำหน้าที่ กรรมการตามระเบียบพัสดุ 106 คน ผู้มีอำนาจอนุมัติการดำเนินการด้านการพัสดุ 17 คนรวม 164 คน โดย การศึกษาข้อมูลด้านเอกสาร แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ในส่วนของการวิเคราะห์เชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์การ ถดถอย ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบบริหารงานพัสดุของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยตัวแปรอิสระของระบบบริหารงานพัสดุ เรียง ตาม ลำดับได้แก่ ด้านความถูกต้อง ความโปร่งใส กฎระเบียบ ความรวดเร็วในการให้บริการ ความคุ้มค่า และ ระบบบริหารงานคล่องตัว โดยเมื่อวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการบริหารงานพัสดุ พบว่ามีระดับ ความสำเร็จร้อยละ 64 โดยมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่สำคัญ คือ จุดแข็งด้านความรู้ของเจ้าหน้าที่พัสดุในเรื่อง กฎระเบียบ และจุดอ่อนด้านการขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการปฏิบัติงาน รวมทั้งมีโอกาสและข้อจำกัดที่ สำคัญ คือ โอกาสด้านการมีระเบียบว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ฉบับใหม่ พ.ศ. 2549 ของ ทางราชการใช้ในการปฏิบัติงานและข้อจำกัดด้านการปฏิบัติตามระเบียบพัสดุของทางราชการ ส่วนปัจจัยที่มี อิทธิพลทางบวกกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบบริหารงานพัสดุเรียงตามลำดับได้แก่ ปัจจัยด้าน ความถูกต้อง ความคุ้มค่า ระบบบริหารงานคล่องตัว และความโปร่งใสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรนำตัวแบบด้านการบริหารงานพัสดุแนวใหม่ไปใช้เป็นแนว ทางในการพัฒนาระบบบริหารงานพัสดุของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ต่อไป รวมทั้งควรมีการจัดทำ ระเบียบด้านการพัสดุของมหาวิทยาลัยเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฎิบัติงานมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิด ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบบริหารงานพัสดุของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8150
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
98040.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons