Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8159
Title: ความพึงพอใจของผู้รับบริการพิธีการศุลกากรนำเข้าแบบไร้เอกสาร : ศึกษากรณีสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
Other Titles: Satisfaction of service recipients on paperless e-import customs service : a case study of Suvarnabhumi Airport Cargo Clearance Customs Bureau
Authors: ปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปัญญา ทาทอง, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ศุลกากร--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการพิธีการศุลกากรนำเข้าแบบไร้เอกสาร (2) ปัญหาการให้บริการพิธีการศุลกากรนำเข้าแบบไร้เอกสาร (3) แนวทางในการเสริมสร้างความพึงพอใจในการให้บริการพิธีการศุลกากรนำเข้าแบบไร้เอกสาร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้นำเข้า หรือตัวแทนออกของที่มาใช้บริการพิธีการศุลกากรนำเข้าแบบไร้เอกสาร ณ สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 394 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบื่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการใช้บริการนำเข้าแบบไร้เอกสาร ณ สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในระดับมากที่สุดสามารถเรียงลำดับความพึงพอใจในรายด้าน ได้แก่ ด้านผลประโยชน์ที่ผู้รับบริการได้รับ ด้านกระบวนการ และด้านบุคลากรตามลำดับ (2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าปัญหาในการผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้าแบบไร้เอกสาร คือ ระบบงานล่าช้ำ และเสียบ่อย รองลงมาได้แก่ สถานที่ตรวจสินค้าคับแคบ และอยู่ห่างกับสถานที่เก็บสินค้า และขั้นตอนการทำงานยุ่งยากทำให้เกิดความล่าช้าในการทำงาน (3) กลุ่มตัวอย่างมีข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างความพึงพอใจในการให้บริการพิธีการศุลกากรนำเข้าแบบไร้เอกสาร ได้แก่ ปรับปรุงขั้นตอนการทำงานให้กระชับและลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำช้อน รองลงมาได้แก่ จัดสถานที่ทำงานในแต่ละขั้นตอนให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน และปรับปรุงระบบงานคอมพิวเตอร์ให้มีความกล่องตัว
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8159
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_127474.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.56 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons