Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8160
Title: การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในอำเภอโชคชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2
Other Titles: Evaluation of the student help-care system project of education expansion schools in Chok Chai District under the Office of Nakhon Ratchasima Primary Education Service Area 2
Authors: สมคิด พรมจุ้ย
สมภพ สุขพัฒนานรากุล, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
นักเรียนประถมศึกษา--การดูแล
การศึกษาอิสระ--การวัดและประเมินผลการศึกษา
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ประเมินความพร้อมด้านปัจจัยของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในอำเภอโชคชัย (2) ประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในอำเภอโชคชัย และ(3) ประเมินผลผลิตของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในอำเภอโชคชัยประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร 12 คน ครูประจำชั้น 42 คน นักเรียน 659 คน ผู้ปกครองนักเรียน 659 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 4 ชุด ประกอบด้วย แบบสอบถามผู้บริหาร แบบสอบถามครูประจำชั้น แบบสอบถามนักเรียน และแบบ สอบถามผู้ปกครองนักเรียน มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .89, .95, .94 และ .89 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คำร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ปัจจัยเบื้องต้นของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาพรวมและรายด้านมีความพร้อมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้แก่ บุคลากร สื่อ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน และงบประมาณ (2) กระบวนการของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนใน ภาพรวมและรายด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้แก่ การวางระบบบริหารการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การจำแนกคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมพัฒนานักเรียนด้วยวิธีการอันหลากหลาย การป้องกันช่วยเหลือ แก้ไข ส่งต่อนักเรียน การจัดกิจกรรมแนะแนว และการนิเทศติดตาม ประเมินผลและรายงานผล และ (3) ผลผลิตของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้แก่ ด้านรู้จักตนเองและพึ่งตนเองได้ นักเรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขนิสัย มีทักษะในการหลีกเลี่ยงป้องกันอันตราย และพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น สามารถจัดการกับปัญหาและอารมณ์ของตนเองได้ เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและ สังคม และมีเจตคติที่ดีและมีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพสุจริต
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8160
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_147716.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.58 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons