Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/817
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ภาณินี กิจพ่อค้า | th_TH |
dc.contributor.author | เกียรติยศ ศักดิ์แสง, 2524- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-08-20T05:39:28Z | - |
dc.date.available | 2022-08-20T05:39:28Z | - |
dc.date.issued | 2557 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/817 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัย เรื่อง กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาตามเจตนารมณ์แห่่ง รัฐธรรมนูญ : กรณี ศึกษาในชั้นศาล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี หลักการ และเจตนารมณ์แห่ง รัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เพื่อศึกษาถึงการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิง สมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นศาลทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ สําหรับคดีอาญาอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลนับตั้งแต่ยื่นฟ้องจนถึงก่อนศาลมีคําพิพากษา เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาการระงับข้อ พิพาทคดีอาญาโดยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นศาล เพื่อศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาการระงับข้อพิพาทคดีอาญาโดยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นศาลตามรูปแบบที่เหมาะสมและให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยทางเอกสารเป็นหลัก โดยมีการสัมภาษณ์เชิงเจาะลึกจากบุคคลที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เป็นต้นว่าผู้พิพากษา พนักงานอัยการ ทนายความ นักวิชาการ ผู้ประนอมหรือผู้ไกล่เกลี่ย เข้ามาเสริมการวิจัยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่าปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อ พิพาทคดีอาญาตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ” ซึ่งมีอยู่ 3 ประการ อันได้แก่ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดสิทธิในกระบวนการยุติธรรมเพื่อการระงับข้อพิพาทคดีอาญาโดยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นศาล ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกบการบังคับใช้ระเบียบศาลว่าด้วยแนวปฏิบัติในการสมานฉันท์และสันติวิธีของศาลที่ขัดต่อหลักการตรากฎ และปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการดําเนินกระบวนการการระงับข้อพิพาทคดีอาญา โดยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นศาล หากประเทศไทยมีการบัญญัติกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติหรือประมวลกฎหมายให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาโดยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นศาลรูปแบบการประชุมไกล่เกลี่ยผู้เสียหาย-ผู้กระทําผิด โดยนําแนวคิดการระงับข้อพิพาทคดีอาญาโดยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นศาลรูปแบบการประชุมไกล่ เกลี่ยผู้เสียหาย-ผู้กระทํา ผิดของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประเทศแคนาดา และประเทศนิวซีแลนด์ มาปรับใช้เป็นต้นแบบในการตรากฎหมายของประเทศไทย รวมถึงยึดหลักนิติรัฐและแนวคิดกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ตลอดจน หลักการพื้นฐานว่าด้วยการดําเนินโครงการกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในคดีอาญา ปี ค.ศ.2002 ของ องค์การสหประชาชาติ ในการดําเนินกระบวนการการระงับข้อพิพาทคดีอาญาโดยกระบวนการยุติธรรมเชิง สมานฉันท์ในชั้นศาล ก็จะทําให้ประเทศไทยมีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดรายละเอียดแห่งสิทธิในการระงับข้อพิพาทอาญาทางเลือกโดยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นศาลตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทําให้ประเทศไทยสามารถแก้ไขปัญหาทางกฎหมายดังกล่าวมาได้อย่างยั่งยืน | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.relation.uri | https://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2015.196 | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | การระงับข้อพิพาท | th_TH |
dc.subject | กระบวนการยุติธรรมทางอาญา | th_TH |
dc.title | กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ : กรณีศึกษาในชั้นศาล | th_TH |
dc.title.alternative | Restorative justice and criminal dispute resolution in the spirit of the constitution : case study in court proceeding | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/STOU.the.2015.196 | en_US |
dc.identifier.url | https://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2015.196 | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this thesis is to study the concepts, the theories, the principles, and the spirits of the constitution of the kingdom of Thailand, relating to the Restorative Justice Practice. The thesis focused on the Restorative Justice Practice in Criminal Dispute Resolution which is from the stage of entering a charge to the stage before deciding the cases in the Courts of Thailand and Foreign countries. To study and analyze the problems issues of Criminal Dispute Resolution by Restorative Justice Practice in court of justice and find out the appropriate resolving methods, complying with the Spirit of the Constitution of the kingdom of Thailand concerning with the Criminal Dispute Resolution by Restorative Justice Practice in court of justice. This Research is Legal Research, Methodology mainly applied to this thesis is Documentary Research or Quality Research Methodology by using the technique of in-depth-interviewing to the groups of Criminal Justice Personnel such as Judges, Prosecutors, Attorneys, Academicians, and Mediator or Conciliator to fulfill the completion of this thesis study. According to the thesis study found that "The legal problems relating to Restorative Justice Practice in Criminal Dispute Resolution, according to the Spirit of Constitution of the kingdom of Thailand could be classified into 3 sorts which are (1) The Legal Problems of defining the judicial administration rights in Criminal Dispute Resolution by Restorative Justice Practice in courts of justice, (2) The Legal Problems of enforcing and applying the Court's Regulation in "Peace and Mediation Procedure" which contradicting to the enactment's principles, and (3)The Legal Problems of practicing Criminal Dispute Resolution by Restorative Justice Practice in courts in case of Thailand. However, legislating of laws in the level of the Act of Parliament or Code of Laws which have the statutes relating to Criminal Dispute Resolution by Restorative Justice Practice in courts by applying the form of Victim-Offender Mediation which bringing the concepts of the Victim-Offender Mediation from Federal Republic of Germany, Canada, and New Zealand as the model in enacting the Law for Thailand. Moreover, holding the Rule of Law State principle and the concepts of Restorative Justice Practice, including basic principles of United Nations Criminal Restorative Justice 2002 to proceed Criminal Dispute Resolution by Restorative Justice Practice in courts which encourage Thailand having the legislation specifying the details of Alternative Criminal Dispute Resolution by Restorative Justice Practice in courts compiling appropriately with the Spirit of Constitution and lead Thailand to resolve legal issues sustainably. | en_US |
dc.contributor.coadvisor | ภาณุมาศ ขัดเงางาม | th_TH |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib146554.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 37.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License