กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/817
ชื่อเรื่อง: กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ : กรณีศึกษาในชั้นศาล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Restorative justice and criminal dispute resolution in the spirit of the constitution : case study in court proceeding
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณินี กิจพ่อค้า
เกียรติยศ ศักดิ์แสง, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ภาณุมาศ ขัดเงางาม
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--วิทยานิพนธ์
การระงับข้อพิพาท
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัย เรื่อง กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาตามเจตนารมณ์แห่่ง รัฐธรรมนูญ : กรณี ศึกษาในชั้นศาล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี หลักการ และเจตนารมณ์แห่ง รัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เพื่อศึกษาถึงการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิง สมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นศาลทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ สําหรับคดีอาญาอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลนับตั้งแต่ยื่นฟ้องจนถึงก่อนศาลมีคําพิพากษา เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาการระงับข้อ พิพาทคดีอาญาโดยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นศาล เพื่อศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาการระงับข้อพิพาทคดีอาญาโดยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นศาลตามรูปแบบที่เหมาะสมและให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยทางเอกสารเป็นหลัก โดยมีการสัมภาษณ์เชิงเจาะลึกจากบุคคลที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เป็นต้นว่าผู้พิพากษา พนักงานอัยการ ทนายความ นักวิชาการ ผู้ประนอมหรือผู้ไกล่เกลี่ย เข้ามาเสริมการวิจัยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่าปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อ พิพาทคดีอาญาตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ” ซึ่งมีอยู่ 3 ประการ อันได้แก่ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดสิทธิในกระบวนการยุติธรรมเพื่อการระงับข้อพิพาทคดีอาญาโดยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นศาล ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกบการบังคับใช้ระเบียบศาลว่าด้วยแนวปฏิบัติในการสมานฉันท์และสันติวิธีของศาลที่ขัดต่อหลักการตรากฎ และปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการดําเนินกระบวนการการระงับข้อพิพาทคดีอาญา โดยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นศาล หากประเทศไทยมีการบัญญัติกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติหรือประมวลกฎหมายให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาโดยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นศาลรูปแบบการประชุมไกล่เกลี่ยผู้เสียหาย-ผู้กระทําผิด โดยนําแนวคิดการระงับข้อพิพาทคดีอาญาโดยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นศาลรูปแบบการประชุมไกล่ เกลี่ยผู้เสียหาย-ผู้กระทํา ผิดของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประเทศแคนาดา และประเทศนิวซีแลนด์ มาปรับใช้เป็นต้นแบบในการตรากฎหมายของประเทศไทย รวมถึงยึดหลักนิติรัฐและแนวคิดกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ตลอดจน หลักการพื้นฐานว่าด้วยการดําเนินโครงการกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในคดีอาญา ปี ค.ศ.2002 ของ องค์การสหประชาชาติ ในการดําเนินกระบวนการการระงับข้อพิพาทคดีอาญาโดยกระบวนการยุติธรรมเชิง สมานฉันท์ในชั้นศาล ก็จะทําให้ประเทศไทยมีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดรายละเอียดแห่งสิทธิในการระงับข้อพิพาทอาญาทางเลือกโดยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นศาลตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทําให้ประเทศไทยสามารถแก้ไขปัญหาทางกฎหมายดังกล่าวมาได้อย่างยั่งยืน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/817
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib146554.pdfเอกสารฉบับเต็ม37.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons