กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8181
ชื่อเรื่อง: ความต้องการสื่อการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ของครูมัธยมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The needs for instructional media in science of secondary education teachers n Nakhon Sawan province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สน ชมชื่น, 2498-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ครูวิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน
ครูมัธยมศึกษา--ไทย--นครสวรรค์
สื่อการสอน--ครูมัธยมมศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความต้องการใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ของครูมัธยมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ และ (2) ศึกษาปัญหาในการใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ของครูมัธยมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จํานวน 214 คน ที่ปฏิบัติการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ในโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการการใช้สื่อการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ของครูมัธยมศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ความต้องการใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ของครูมัธยมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ มีดังนี้ (1.1) ความต้องการสื่อวัสดุประกอบด้วย ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ คือแบบฝึกปฏิบัติวิทยาศาสตร์ และปริศนาทางวิทยาศาสตร์ และประเภทสื่ออิเล็กทรอนิกส์คือห้องปฏิบัติการเสมือนจริง และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (1.2) ความต้องการสื่ออุปกรณ์ประกอบด้วย ประเภทสื่ออุปกรณ์ทั่วไป คือเครื่องฉาย ภาพสามมิติ เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องขยายเสียง ประเภทสื่ออุปกรณ์วิทยาศาสตร์สาขาเคมี คือสารเคมี ต่าง ๆ แบบจําลองโมเลกุล และชุดสเปกตรัม ประเภทสื่ออุปกรณ์วิทยาศาสตร์สาขาชีววิทยา คือชุดวัดการ สังเคราะห์แสง เครื่องมือวัดความใสของน้ำ และเครื่องมือชุดโปโตมิเตอร์ และประเภทสื่ออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์คือชุดแม่เหล็กไฟฟ้า ชุดสนามแม่เหล็กหนืด และลวดความต้านทานเปลี่ยนค่า (1.3) ความต้องการสื่อห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ คือห้องทดลองชีววิทยา ห้องทดลองเคมีและห้องทดลองฟิสิกส์ (1.4) ความต้องการสื่อวิธีการสอนวิทยาศาสตร์คือการทดลองประสบการณ์จริง และการจัดนิทรรศการ และ (2) ปัญหาการใช้สื่อการสอนของอาจารย์ พบว่ามีปัญหาด้านงบประมาณอยู่ในระดับมาก คืองบประมาณไม่เพียงพอในการบํารุงรักษาและซ่อมแซมสื่อการสอน ปัญหาการจัดการห้องวิทยาศาสตร์ยังไม่เป็นระบบ และปัญหาการจัดงบประมาณล่าช้า นักเรียนมีความถนัดทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกัน และความสนใจ/เจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ และสื่อมีจํานวนไม่เพียงพอกับความต้องการ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8181
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_145058.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons