กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/819
ชื่อเรื่อง: การฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหาย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The criminal prosecution by injured person
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนินาฎ ลีดส์
โกสินทร์ มีพรบูชา, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
จิรัช ชูเวช
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--วิทยานิพนธ์
การฟ้อง
ผู้เสียหาย
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องการฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับระบบการดำเนินคดีอาญา ทฤษฎีกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ทฤษฎีการลงโทษทางอาญา หลักการดำเนินคดีอาญา ทฤษฎีเงื่อนไขแห่งอำนาจฟ้องและทฤษฎีเงื่อนไขระงับคดี เพื่อค้นหาแนวทางการแก้ไขปัญหากระบวนการยุติธรรมทางอาญาในประเทศไทย ซึ่งเกิดจากการที่ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องคดีอาญาได้อย่างกว้างขวางโดยปราศจากขอบเขตและเงื่อนไขจำกัด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสาร โดยวิธีการ วิเคราะห์เปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และรูปแบบการฟ้องคดีอาญาจาก แนวคิด ทฤษฎี หลักเกณฑ์ และบทบญัญัติแห่งกฎหมายรวมทั้งความเห็นทางกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศองกฤษ ผลการวิจัยพบว่าการให้อํานาจผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องคดีอาญาได้อย่างกว้างขวางโดยปราศจากขอบเขตและเงื่อนไขในประเทศไทยได้ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาหลายประการ ดังนั้นจึงเห็นควรแก้ไขเพื่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อปรับปรุงสิทธิการฟ้อง คดีอาญาของผู้เสียหายให้อยู่ภายใต้ขอบเขตและเงื่่อนไขที่จํากัด โดยนํารูปแบบของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมาเป็นต้นแบบ ดังนี้ 1) กำหนดขอบเขตการฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายไวเฉพาะคดี ความผิดลหุโทษ หรือความผิดเล็กน้อยที่มีอัตราโทษไม่เกินกว่าความผิดลหุโทษ และคดีความผิดอาญาต่อส่วนตัว ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ เท่านั้น 2) กำหนดเงื่อนไขการฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายโดยการ ห้ามไม่ให้นําคดีอาญามาฟ้องต่อศาลจนกว่าจะได้ดําเนินการในขั้นตอนไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความ โดยมีพนักงานอัยการทำหน้าที่่เป็นคนกลาง และพนักงานอัยการได้พิจารณาแล้วเห็นควรอนุญาตให้ ผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาเรื่องดังกล่าวต่อศาลได้ด้วยตนเอง ภายหลังจากที่คู่กรณีไม่สามารถตกลงกันได้ 3) กำหนดหลักเกณฑ์การฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายไว้เฉพาะในคดีที่พนักงานอัยการ มีคําสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี ผู้กระทำผิดแล้วเท่าน้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/819
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib139392.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons