Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8207
Title: โครงการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
Other Titles: Proposed project for establishing the Educational Technology and Communitions Center, Naval Education Department
Authors: ชูศักดิ์ เพรสคอทท์
ชญานี ราษฎร์นิยม, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ทิพย์เกสร บุญอำไพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
ศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
Issue Date: 2539
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาภายในกองทัพเรือเป็นภารกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าด้าน การพัฒนาอาวุธยุทธภัณฑ์ต่างๆ เนื่องจากการศึกษาเป็นการพัฒนาคนให้มีความรู้ และสามารถ นำความรู้ที่ได้นั้นไปปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนให้เกิดประโยชน์ต่อกองทัพเรือและประเทศชาติให้ มากที่สุด การเรียนการสอนของสถานศึกษาในกองทัพเรือนั้น ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ครู สามารถถ่ายทอดเนื้อหาวิชาอย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มพูนประสบการณ์ให้กับผู้เรียน คือสื่อการ สอน ในปัจจุบันแม้ว่ากรมยุทธศึกษาทหารเรือซึ่งเป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกองทัพเรือและมีหน้าที่เป็น หน่วยควบคุมการศึกษาจะมีหน่วยงานบริการสื่อการสอนอยู่ แต่การให้บริการยังไม่สมบูรณ์เต็มรูป แบบเท่าที่ควร จึงต้องมีการวิจัยเพื่อให้ได้ต้นแบบโครงการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการ ศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการสื่อการสอนของผู้สอนและสถานศึกษาต่างๆใน กองทัพเรือ เพื่อนำไปสร้างเป็น ศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สังกัดกรมยุทธศึกษาทหาร เรือ ในโอกาสต่อไป การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอโครงการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา กรมยุทธศึกษาทหารเรือประชากรที่ศึกษาแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 10 คน กลุ่มที่ 2 ครูทหาร จำนวน 271 คน กลุ่มที่ 3 เจ้าหน้าที่เครื่องช่วยการศึกษา จำนวน 75 คน ประชากรดังกล่าวได้มาจากสถานศึกษาซึ่งอยู่ในสังกัดกรมยุทธศึกษาทหารเรือ การเก็บข้อมูลจาก ประชากรใช้แบบสอบถามปลายปิดและปลายเปิด และกลุ่มที่ 4 ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี และสื่อสารการศึกษา จำนวน 25 คน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย การวิเคราะห์คำนวณข้อมูลทางสถิติ ใช้สูตรเพื่อหา ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เครื่องมือที่ใช้คำนวณค่าทางสถิติ ได้แก่ คอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS และ โปรแกรมโลตัส ผลการวิจัยโครงการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา กรมยุทธศึกษาทหารเรือ สรุปได้ว่า อาคารของศูนย์ฯเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 20X40 ตารางเมตร จำนวน 3 ชั้น แต่ละ ชั้นมีเนื้อที่ใช้สอยประมาณ 800 ตารางเมตร รวมเนื้อที่ใช้สอยทั้งสิ้นประมาณ 2,400 ตารางเมตร ศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษานี้ จัดในลักษณะเน้นงานบริการด้านโสตทัศนศึกษาและการ บริการห้องสมุด ขอบข่ายการบริการของศูนย์ฯมุ่งให้บริการด้านจัดหา ผลิต และรวบรวมสื่อการ สอนที่เหมาะสม มีหน้าที่ให้ความรู้ ข้อมูล สารสนเทศต่างๆทางด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการ ศึกษา การอบรมให้บุคลากรมีความรู้และทักษะในการผลิต การใช้ และการเลือกสื่อการสอนที่ เหมาะสมและสอดคล้องกับเนื้อหาวิชาที่มีการสอน ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาสื่อการสอนให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การจัดแบ่งงานภายในศูนย์ฯแบ่งออกเป็น 6 แผนก คือ (1) แผนกธุรการ แบ่งเป็น 2 หมวด ได้แก่ หมวดธุรการทั่วไป หมวดการเงินบัญชีและงบประมาณ (2) แผนกวิชาการ (3) แผนกผลิตสื่อ แบ่งเป็น 4 หมวด ได้แก่ หมวดผลิตสื่อกราฟิก หมวดผลิตสื่อเทปบันทึกเสียง และเทปบันทึกภาพ หมวดผลิตสื่อภาพนิ่ง หมวดผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ (4) แผนกซ่อมบำรุง (5) แผนกบริการสื่อ และ (6) แผนกคลังเครื่องช่วยการศึกษา บุคลากรภายในศูนย์ฯมีจำนวนทั้งสิ้น 81 คน งบประมาณในการจัดตั้งศูนย์ฯ รวมทั้งสิ้น 75,227,112 บาท แบ่งออกเป็น งบลงทุนจำนวน 67,463,792 บาท งบดำเนินการจำนวน 7,763,320 บาท ระยะเวลาคืนทุน 2 ปี 3 เดือน ผลตอบ แทนในการลงทุน 43.75 เปอร์เซนต์
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2539
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8207
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT_47526.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.68 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons