Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8208
Title: | ปัจจัยความสามารถในการแข่งขันที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพงาน กรณีศึกษาฝ่ายซ่อมใหญ่เครื่องยนต์อากาศยาน ฝ่ายซ่อมใหญ่ ฝ่ายช่าง บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) |
Other Titles: | Competencies' factor which affects work quality : case study of Aircraft Overhaul Department Technical Department Thai Airways International (Public) limited |
Authors: | ธนชัย ยมจินดา ไพรัช แผ้วสกุล. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี บริษัทการบินไทย ฝ่ายซ่อมใหญ่เครื่องยนต์อากาศยาน การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ บริษัทการบินไทย--ความสามารถในการแข่งขัน |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาเรื่องปัจจัยความสามารถในการแข่งขันที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพงานกรณีศึกษาฝ่ายซ่อมใหญ่เครื่องยนต์อากาศยาน ฝ่ายซ่อมใหญ่ ฝ่ายช่าง บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ให้ความสำคัญต่อคุณภาพงาน เสมือนเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อความได้เปรียบแห่งการแข่งขันผู้ศึกษาต้องการทราบถึงปัจจัยของความสามารถในการแข่งขันของพนักงานฝ่ายซ่อมใหญ่เครื่องยนต์อากาศยานที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพงานซ่อมใหญ่เครื่องยนต์อากาศยาน ว่าคุณภาพงานอยู่ในระดับใดและมีประเด็นใดที่ควรปรับปรุงอีกบ้าง ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้สร้างกรอบความคิด ตามแนวคิดของ สเปนเซอร์ แอนด์ สเปนเซอร์ ในเรื่องปัจจัยของความสามารถในการแข่งขันในกลุ่มงานสายเทคนิค เป็นตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อคุณภาพงานซ่อมใหญ่เครื่องยนต์อากาศยานซึ่งถือเป็นตัวแปรตามแล้วใช้เครื่องมือเป็น แบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่าง นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ ด้วยวิธีการถดถอยพหุ สรุปได้จากกลุ่มตัวอย่งรวมคือ คุณภาพงานซ่อมใหญ่เครื่องขนต์อากาศยาน อยู่ในระดับดีปานกลาง ได้แบบจำลองว่า คุณภาพงานซ่อมใหญ่เครื่องยนต์อากาศยานของฝ่ายช่าง มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านการยึดมั่นในความสำเร็จของงาน การมุ่งมั่นพยายามต่อการแก้ปัญหา ความเชื่อมั่นตนเอง การคิดอย่างเป็นระบบ และการยึดมั่นในความสำเร็จของงาน ซึ่งให้ผลแตกต่างเมื่อแยกวิเคราะห์ตามระดับงานทั้งนี้อภิปรายผลได้ว่าปัจจัยความสามารถในการแข่งขันเป็นบุคลิกภาพและความคิดเห็นและคำถามอาจจะไม่ครอบคลุมปัจจัยของความสามารถในการแข่งขันเพียงพอจึงได้ผลการวิเคราะห์คุณภาพงานซ่อมใหญ่เครื่องยนต์อากาศยาน อยู่ในระดับดีปานกลาง แม้ว่าปัจจัยที่เป็นตัวแปรอิสระ จะอยู่ในระดับดีสูง และ ดีปานกลางก็ตามจากผลการวิเคราะห์เชิงสถิติ ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานซ่อมใหญ่เครื่องยนต์อากาศยานของฝ่ายช่างควรดำรงไว้ซึ่งการสร้างปัจจัยความสามารถในการแข่งขันของพนักงานมุ่งเน้นการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิผล เพื่อยกระดับคุณภาพงาน ต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8208 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_80231.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License