กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8236
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ยุทธนา ธรรมเจริญ | th_TH |
dc.contributor.author | กันยา หอแก้ว, 2519- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-07-26T06:39:46Z | - |
dc.date.available | 2023-07-26T06:39:46Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8236 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการซื้อเครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปของผู้บริโภค ในเขตนิคมอุสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี (2) ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปของผู้บริโภคในเขตนิคมอุสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมการซื้อเครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปของผู้บริโภคในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากรคือ ผู้ที่ซื้อเครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปในเขตนิคม อุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร ยามาเน่ ได้จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ใช้ วิธีการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 21-30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้ 10,000-20,000 บาทต่อเดือน (1) พฤติกรรมการซื้อเครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปของผู้บริโภค พบว่าส่วนใหญ่ซื้อเครื่องดื่มชาเขียวด้วยตนเอง ซื้อครั้งละ 1 ขวด ซื้อ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อความสดชื่นแก้กระหาย ในช่วงเวลา 12.01-15.00 น. นิยมซื้อยี่ห้ออิชิตันรสน้ำผึ้งผสมมะนาวมากที่สุด รองลงมาคือยี่ห้อโออิชิ นิยมซื้อแบบขวดพลาสติกจากร้านใกล้บ้าน ใกล้ที่ทำงาน หากพบว่าเครื่องดื่มชาเขียวที่ตั้งใจซื้อไม่มี จะเปลี่ยนไปซื้อยี่ห้ออื่นทดแทนจากร้านเดิม โดยไม่มีความจงรักภักดีต่อตราสินค้า (2) ส่วนประสมการตลาดทุกปัจจัยมีผลต่อการซื้อเครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านราคา ตามลำดับ และ (3) เพศ มี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อในส่วนที่เกี่ยวกับรสชาติที่นิยมซื้อและความถี่ในการซื้ออายุมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อในส่วนที่เกี่ยวกับจำนวนการซื้อ สถานที่ซื้อ และช่วงเวลาในการซื้อ ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์พฤติกรรมการซื้อในส่วนที่เกี่ยวกับจำนวนการซื้อ ช่วงเวลาในการซื้อ สถานที่ซื้อและยี่ห้อที่ซื้อ อาชีพมีความสัมพันธ์กบพฤติกรรมการซื้อในส่วนที่เกี่ยวกับรสชาติที่ซื้อ จำนวนที่ซื้อในแต่ละครั้ง สถานที่ซื้อ และช่วงเวลาในการซื้อรายได้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อในส่วนที่เกี่ยวกับยี่ห้อที่นิยมซื้อ รสชาติที่นิยมบริโภค ความถี่ในการซื้อในแต่ละครั้ง จำนวนในการซื้อ ลักษณะบรรจุภัณฑ์ ช่วงเวลาในการซื้อ และสถานที่ในการซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Reformatted digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | ชาเขียว | th_TH |
dc.subject | พฤติกรรมผู้บริโภค | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--การตลาด | th_TH |
dc.title | ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปของผู้บริโภคในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | Marketing mix factors affecting instant green tea drink consumers buying behaviour in Amata Nakorn Industrial Estate, Chon Buri Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This study aims (1) to study instant green tea drinks’ buying behavior of consumers in Amata Nakorn Industrial Estate, Chon Buri Province; (2) to identify the marketing mix factors affecting instant green tea drinks’ buying behavior of consumers in Amata Nakorn Industrial Estate, Chon Buri Province; and (3) to examine the relationship between demographics and instant green tea drinks’ buying behavior of consumers in Amata Nakorn Industrial Estate, Chon Buri Province. This study uses survey research to address these aims. In total, the population was consumers buying instant green tea drinks in Amata Nakorn Industrial Estate. Applying the Taro Yamane Formula yielded a total sample size of 400 consumers. Convenient sampling method was adopted with the research. Questionnaires were used as a tool for data collection, statistics used for data analysis including frequency; percentage; mean; standard deviation; and Chi-Square Test. The results showed that most of the sampling groups were single male, aged between 21 and 30, with Bachelor degrees for their educational background. They worked for private companies with salaries between 10,000 and 20,000 Thai Baht; (1) the majority of the consumers bought instant green tea drinks by themselves for one bottle each time between 12.01 and 15.00 hrs. in the frequencies of few times per week in order to relieve thirst. Moreover, the consumers mostly bought instant green tea drinks in plastic bottles from shops nearby their houses or offices without brand loyalty. Ichitan with honey lemon taste was the most popular brand and Oichi was the second; (2) the overall of how marketing mix factors affected instant green tea drinks’ buying behavior of consumers were considered at a high level, ordered as follows: distribution, product, promotion and price; and (3) genders are related to buying behavior in popular taste and individual affected buying decision in buying frequency. Age is related to buying volumes and individual affected buying decision in buying places and buying period. Education level was related to buying behavior in buying volumes and period of being consumer and individual affected buying decision in buying places and brand. Occupation was related to buying behavior in taste, buying volumes per time and period of being consumer. Salary was related to buying behavior in popular brand and taste, buying frequency per time, buying volumes, package and period of being consumer, and individual affected buying behavior in buying place at significant level. | en_US |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_132852.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.85 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License