กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8240
ชื่อเรื่อง: | ความคาดหวังและการรับรู้ของผู้โดยสารชาวไทยต่อคุณภาพการให้บริการของสายการบินกาตาร์แอร์เวยส์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Expectation and perception of Thai passenger's toward service quality of Qatar Airways |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร วิมลรัตน์ สังข์เลี่ยมทอง, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี สายการบินกาตาร์แอร์เวยส์ ผู้โดยสารเครื่องบิน การศึกษาอิสระ--การตลาด |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลของผู้โดยสารชาวไทยที่มาใช้บริการสายการบินกาตาร์แอร์เวยส์ (2) ศึกษาระดับความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการให้บริการของสายการบินกาตาร์แอร์เวยส์ และ (3) เปรียบเทียบความแตกต่างของความคาดหวัง และการรับรู้คุณภาพการให้บริการของสายการบินกาตาร์แอร์เวยส์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากรคือ ผู้ที่เคยใช้บริการสายการบินกาตาร์เเอร์เวยส์ที่ไม่ทราบจำนวน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ความคลาดเคลื่อน 0.05 จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 26-35 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัท (2) ระดับความคาดหวังที่มีต่อคุณภาพการให้บริการ ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากคือ ความมั่นใจ การตอบสนองที่รวดเร็ว ความเชื่อถือได้ การเข้าถึงจิตใจของ ลูกค้า ลักษณะทางกายภาพ และการรับรู้คุณภาพการให้บริการส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกันยกเว้นด้านการตอบสนองที่รวดเร็ว และการเข้าถึงจิตใจของลูกค้า อยู่ระดับปานกลาง และ (3) เมื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับการรับรู้ต่อคุณภาพการให้บริการสายการบินกาตาร์แอร์เวยส์พบว่า ระดับการศึกษาของผู้โดยสารไม่มีความสัมพันธ์ต่อความคาดหวังในคุณภาพ การให้บริการในทัศนะความเชื่อถือได้ความแตกต่างของลักษณะส่วนบุคคลกับคุณภาพการให้บริการพบว่า เพศ อายุ สถานภาพสมรส และรายได้ที่แตกต่างกันมีความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการให้บริการแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนอาชีพที่แตกต่างกันมีความคาดหวังและการรับรู้ คุณภาพการให้บริการโดยส่วนใหญ่แตกต่างกัน แต่ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความคาดหวังคุณภาพการให้บริการโดยส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ขณะที่มีการรับรู้คุณภาพการให้บริการแตกต่างกัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8240 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_132859.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.79 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License