กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8254
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงคุณภาพในกระบวนการหล่อล้ออลูมิเนียมโดยประยุกต์ใช้กิจกรรมการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม : กรณีศึกษา บริษัทเลนโซ่วีล จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Quality improvement of aluminium alloy wheel casting by applying TPM activity : a case study of Lenso Wheel Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ
เลิศศักดิ์ มูลสมบัติ, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทเลนโซ่วีล--การมีส่วนร่วมของลูกจ้าง
การบำรุงรักษาเชิงทวีผลโดยรวม
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประยุกต์ใช้กิจกรรมการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม เพื่อปรับปรุงคุณภาพในกระบวนการหล่อล้ออลูมิเนียม (2) เปรียบเทียบผลการปรับปรุงด้านคุณภาพของกระบวนการหล่อล้ออลูมิเนียมก่อนและหลังการทำกิจกรรมการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วมการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกิจกรรมการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม เพื่อปรับปรุงคุณภาพในกระบวนการหล่อล้ออลูมิเนียม โดยประยุกต์ใช้เครื่องมือการปรับปรุงคุณภาพของกิจกรรมการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม ตามขั้นตอน ดังนี้ (1) การยืนยันคุณลักษณะทางคุณภาพ สำหรับค้นหาแหล่งความแปรปรวนที่มีผลต่อคุณภาพ แล้วทำการกำจัดและควบคุม (2)การศึกษาและทบทวนโครงสร้าง และหลักการทำงาน สำหรับวิเคราะห์ และค้นหาสาเหตุหลักของปัญหา แล้วทำการแก้ไข (3) การออกแบบการทดลอง สำหรับค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพ แล้วทำการควบคุม และ (4) การใช้เทคนิดทางสถิติ สำหรับการติดตามผลและควบคุมความสามารถของกระบวนการผลิตผลการวิจัย พบว่า (1) จากการประยุกต์ใช้กิจกรรมการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม โดยวิธีการยืนยันคุณลักษณะทางคุณภาพ การศึกษาและทบทวนโครงสร้าง และหลักการทำงานของกระบวนการหล่อล้ออลูมิเนียม พบว่า การจะปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น จะต้องควบคุมอุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมให้อยู่ในช่วง 680-690 Cโดยการติดตั้งโปรแกรม เพื่อตัดการทำงานของเครื่องหล่อเมื่ออุณหภูมิไม่ได้ตามที่กำหนด และจะต้องควบคุมปริมาณแก๊สไฮโดรเจน ในน้ำอลูมิเนียม 2 2.65 กรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งจากการออกแบบการทคลอง เพื่อที่จะ ควบคุมปริมาณแก๊สไฮโดรเจนให้ได้ 2 2.65 กรัม/ลูกบาศก์เมตร จะต้องควบคุม ปัจจัยหลัก 3 ปัจจัย คือ 1) อัตราการไหลของแก๊สอาร์กอน = 25 ลิตรนาที 2) ควบคุมความชื้นของสารทำความสะอาดโดยการบรรจุใส่ถุงปิดสนิทและ 3) ควบคุมความชื้นของวัตถุดิบโลหะผสม จะต้องไม่โดนน้ำ และเก็บที่อุณหภูมิห้อง โดยจะต้องมีการเฝ้าติดตามผลของคำอุณหภูมิและค่าปริมาณแก๊สไฮโครเจนในน้ำอลูมิเนียม โดยใช้แผนภูมิควบคุมและการวัดความสามารถของกระบวนการอย่างต่อเนื่อง (2) เปรียบเทียบผลการปรับปรุงด้านคุณภาพของกระบวนการหล่อล้ออลูมิเนียมก่อนและหลังทำกิจกรรม พบว่า เปอร์เซ็นต์ของเสียก่อนทำกิจกรรมเท่ากับ 21.82% และเปอร์เซ็นต์ของเสียหลังทำกิจกรรมเท่ากับ 19.41% ลดลง 2.41%
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8254
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
130384.pdf4.44 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons