กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8266
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบางนบ อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Popular opinions on the performance of Bang-nop Sub-District Administrative Organization, Hua-Sai District, Nakhon Si Thammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพรรณี ช่วงชนม์, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
องค์การบริหารส่วนตำบลบางนบ--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบางนบ อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบางนบ อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบางนบ อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรได้แก่ผู้แทนครัวเรือนในพื้นองค์การ บริหารส่วนตำบลบางนบ อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 539 คน กลุ่มตัวอย่าง 226 คนคำนวณจากสูตรของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ผลการศึกษาพบว่า (1) ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานขององค์การบริหาร ส่วนตำบลบางนบ อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านการเมืองและการบริหาร ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชน จำแนกตาม ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้ที่มีเพศและ อายุ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ข้อเสนอแนะที่สำคัญ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลควรให้ความสนใจการ ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้นโดยเฉพาะการรักษาแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมทั้ง จัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นควรเร่งรัดพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยจัดให้มีถนนคอนกรีตหรือถนนลาดยางในทุกหมู่บ้านดูแลไฟฟ้าส่องสว่างตามแนวถนน และจัดให้มีน้ำประปาใช้ในทุกครัวเรือน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8266
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_128304.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons