Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8278
Title: | แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการของฝ่ายซ่อมใหญ่อากาศยานบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) |
Other Titles: | Development guidelines of management administration potentials of the Aircraft Overhaul Department, Thai Airways International Public Company Limited |
Authors: | วิรัช วิรัชนิภาวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา ศิรินทร์ ธูปกล่ำ, อาจารย์ที่ปรึกษา กฤษณะ นามงาม, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์ บริษัทการบินไทย. ฝ่ายซ่อมใหญ่อากาศยาน -- การบริหาร |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อศักยภาพใน การบริหารจัดการ ปัญหา แนวทางการพัฒนา การเปรียบเทียบภาพรวม และภาพรวมแนวโน้ม ศักยภาพในการบริหารจัดการในการบริหารจัดการของฝ่ายซ่อมใหญ่อากาสยาน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ ได้นำกรอบแนวคิด สวอท ซึ่งประกอบด้วย 4 เรื่อง ได้แก่ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัดหรืออุปสรรค รวมทั้งนำแนวคิด 3M มาปรับใช้ในการศึกษาครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีจำนวน 1,015 คน เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการ ทดสอบ รวมทั้งผ่านการหาความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม การเก็บรวบรวม ข้อมูลสนามดำเนินการระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม ถึง 15 กันยายน เก็บรวบรวมได้ 842 คน คิดเป็น จำนวนร้อยละ 82.96 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด สำหรับสถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับปานกลาง ว่า (1) ศักยภาพในการ บริหารจัดการและปัญหาของศักยภาพในการบริหารจัดการของฝ่ายซ่อมใหญ่อากาศยาน และ (2) ภาพรวมศักยภาพในการบริหารจัดการของฝ่ายซ่อมใหญ่อากาศยานในปัจจุบันสูงกว่าในอดีต และสูงกว่าหน่วยงานข้างเคียง และเห็นด้วยในระดับมากต่อแนวทางการพัฒนาศักยภาพในการ บริหารจัดการของฝ่ายซ่อมใหญ่อากาศยาน สำหรับข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ (1) ด้านการบริหาร บุคลากร ฝ่ายซ่อมใหญ่อากาศยานควรจัดให้มีแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นระบบและ ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (2) ด้านการบริหารงบประมาณ ฝ่ายซ่อมใหญ่อากาศยานควรจัดสรร งบประมาณให้หน่วยงานภายในต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและเพียงพอ โดยครอบคลุมงบประมาณ สำหรับการแข่งขันทางธุรด้วย และ (3) ด้านการบริหารงานทั่วไป ฝ่ายซ่อมใหญ่อากาศยานควร คำนึงถึง กฎข้อบังคับขององค์กรการบินทั้งในและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และควรนำการบริหาร จัดการที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมาปรับใช้ในหน่วยงาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8278 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License