กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/827
ชื่อเรื่อง: ต้นทุนต่อหน่วยบริการทันตกรรมรากฟันเทียมโรงพยาบาลประชาธิปัตย์ จังหวัดปทุมธานี ปีงบประมาณ 2550
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Unit cost of dental implant services in Prachatipat Hospital, Pathum Thani Province of the fiscal year 2007
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรเดช ประดิษฐบาทุกา
นวกมล สุริยันต์, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พาณี สีตกะลิน
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ทันตกรรม--ค่าใช้จ่าย
ทันตกรรม--ต้นทุนการผลิต
ทันตกรรม--ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
ค่ารักษาพยาบาล
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงพรรณานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ต้นทุนในการให้บริการทันตกรรมรากเทียมต่อซี่ 2) ต้นทุนรวมในการให้บริการทันตกรรมรากเทียมของผู้มารับบริการ โรงพยาบาทประชาธินิตย์ จังหวัดปทุมธานี การวิเคราะห์ต้นทุนดำเนินการในประชากรซึ่งเป็นจำนวนทันตกรรมรากฟันเทียมที่ผู้ป่วยมารับบริการทันตกรรมรากฟันเทียมระหว่างเดือนตุลาคม 2549 ถึง เดือนกันยายน 2550 โดยการวิจัยใช้จำนวนทันตกรรมรากฟันเทียมทั้งหมด เก็บข้อมูลต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ และค่าลงทุนโดยไม่รวมขั้นตอน การถ่ายเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์และแพนนอรามิก และในผู้ป่วยบางรายที่มีรากฟันเทียมมากกว่า 1 ตำแหน่ง วิธีวิเคราะห์ต้นทุนโดยแบ่งหน่วยต้นทุนเป็น 2 หน่วย คือหน่วยที่ก่อให้เกิดรายได้ (หรือหน่วยบริการผู้ป่วย) และหน่วยที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 5 แบบ คือ พจนานุกรมทันตกรรมรากฟันเทียม แบบบันทึกเวลาในการปฏิบัติงานทันตกรรมรากฟันเทียม แบบบันทึกค่าแรงในการปฏิบัติงานทันตกรรมรากฟันเทียม แบบบันทึกค่าวัสดุการให้บริการทันตกรรมรากฟันเทียม แบบบันทึกค่าเสื่อมราคาการให้บริการทันตกรรมรากฟันเทียม วิเคราะห์ต้นทุนในมุมมองของผู้ให้บริการและโดยต้นทุนทางบัญชี การกระจายต้นทุนด้วยวิธีการกระจายต้นทุนโดยตรง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ การศึกษา พบว่า 1) ต้นทุนการให้บริการทันตกรรมรากฟันเทียมต่อซี่ เท่ากับ 15,997.38 บาท 2) ต้นทุนรวมของหน่วยบริการทันตกรรมรากฟันเทียมเท่ากับ 799,869.01 บาท โดยเป็นต้นทุนทางตรง 799,857.32 บาท และต้นทุนทางอ้อม 11.69 บาท อัตราส่วนต้นทุนค่าแรงต่อต้นทุนค่าวัสดุต่อต้นทุนค่าลงทุน เท่ากับ 2.54 :75.44 : 22.02 โดยต้นทุนในการให้บริการรากฟันเทียมขึ้นกับวัสดุที่ใช้ทางทันตกรรม ข้อเสนอแนะของผลการวิจัย ควรนำผลมาเปรียบเทียบกับโปรแกรมการบริการพื้นฐานที่ให้บริการประชาชนทั่วไป และควรศึกษาต้นทุนต่อกิจกรรมผู้ป่วยเพื่อประสิทธิภาพการบริหารต้นทุน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/827
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
108823.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons