Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8282
Title: ขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรมชลประทาน
Other Titles: Management administration capabilities in terms of human resource development of the Royal Irrigation Department
Authors: วิรัช วิรัชนิภาวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิรินทร์ ธูปกล่ำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จำนงค์ เมตตาจิตร, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
กรมชลประทาน -- การบริหารงานบุคคล
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ทรัพยากรมนุษย์ -- การจัดการ
ทรัพยากรมนุษย์ -- การบริหาร
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อขีด ความสามารถในการบริหารจัดการ ปัญหา แนวทางการพัฒนา ตลอดจน (2) เปรียบเทียบภาพรวม และแนวโน้มขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรม ชลประทาน ทั้งนี้ ได้นำ สวอท ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัด หรืออุปสรรค รวมทั้งนำแนวคิด 3M ได้แก่ การบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ และการ บริหารงานทั่วไป มาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ด้วย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีจำนวน 1,233 คน เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการ ทดสอบ รวมทั้งผ่านการหาความเที่ยงตรง และความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามที่ระดับ 0.90 การ เก็บรวบรวมข้อมูลสนามจากข้าราชการ ดำเนินการระหว่างวันที่ 1 กันยายน ถึง 30 ตุลาคม 2549 สามารถเก็บรวบรวมได้ 1,132 คน คิดเป็นจำนวนร้อยละ 91.88 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด สำหรับ สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ ค่าที ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับปานกลาง ว่า (1) ขีดความสามารถใน การบริหารจัดการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรมชลประทานสูง และ (2) ขีดความสามารถ ในการบริหารจัดการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบันสูงกว่าในอดีต พร้อมกันนั้น กลุ่ม ตัวอย่างเห็นด้วยในระดับมาก ว่า ในอนาคตมีแนวโน้มสูงกว่าในปัจจุบัน สำหรับข้อเสนอแนะ เช่น (1) ด้านการบริหารงานบุคคลควรมีการวางแผนรูปแบบในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็น ระบบ และ ผู้บริหารควรเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพิ่มมากขึ้น (2) ด้าน การบริหารงบประมาณ ควรจัดสรรงบประมาณด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เพียงพอและ สอดคล้องกับแผน และ (3) ด้านการบริหารงานทั่วไปควรแบ่งอำนาจไปสู่ส่วนภูมิภาคและ ควรสนับสนุนให้มีการประเมินผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยหน่วยงานภายนอกเพิ่มมากขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8282
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
98089.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.11 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons