Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8295
Title: การศึกษาการจัดการคุณภาพดินในอุตสาหกรรมเซรามิก
Other Titles: Study of clay quality management in ceramic industry
Authors: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
มานะ บรรณกุลพิพัฒน์, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
อุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา
การจัดการดิน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: ดินในอุตสาหกรรมเซรามิกเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิต การปรับปรุงคุณภาพดินทั้งด้านคุณภาพ และคุณภาพบริการเป็นการเพิ่มความพึงพอใจของผู้ประกอบการใบอุสาหกรรมเชรามิกการศึกษาการจัดการคุณภาพดินในอุตสาหกรรมเซรามิก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะคุณภาพ และลักษณะคุณภาพการบริการของดินที่ตู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเซรามิกให้ความสำคัญการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ จำนวน 94 ตัวอย่าง โดยเลือกตัวอย่างแบบตามสะดวกเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่สถิติเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์เชิงอนุมาน โดยใช้ค่าสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.0ร ให้สอดคล้องตามสมมติฐานงานวิจัย ผลการสำรวจพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนมากมาจากอุดสาหกรรมผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารเซรามิกมีการจำหน่ายในประเทศเป็นร้อยละ 57.4 และส่งออกเป็นร้อยละ 42.6 โดยมีลักษณะส่วนบุคคลที่สำคัญคือเป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี อายุงานอยู่ในช่วง 11-เ5 ปี จบการศึกษาระดับ ปริญญาตรีกลุ่มตัวอย่างส่วนมากเห็นด้วยกับลักษณะคุณภาพ และคุณภาพการบริการ ในอุตสาหกรรมเซรามิกโดย ในด้านลักษณะคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับเรื่องการผลิตตามมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอมากที่สุด รองลงมาคือการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และการหดตัวของดินตามลำดับ ส่วนในด้านลักษณะคุณภาพการบริการกลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับเรื่อง ความสามารถของพนักงานในการให้บริการอย่างถูกต้องมากที่สุด รองลงมาคือ ความสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า และความเชื่อถือได้ในมาตรฐานการให้บริการ ในการดำเนินการจัดการคุณภาพดินควรมุ่งเน้นด้านนวัตกรรมกระบวนการ ในการกำกับให้มีการผลิตตามมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ และมุ่งเน้นด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ สำหรับการดำเนินการให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและให้เป็นที่พอใจของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเซรามิก ส่วนการจัดการคุณภาพบริการควรมุ่งเน้นการใช้ความสามารถของพนักงานในการบริการ ให้คำแนะนำทางด้านเทคนิคแก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเซรามิก และดำเนินการพัฒนาเป็นพันธมิตรธุรกิจในการสร้างความสัมพันธ์ระยะขาวกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเซรามิก เพื่อให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพดินในอุสาหกรรมเซรามิก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8295
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_102089.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.21 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons