Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8296
Title: การบริหารสุขภาพบุคลากรการท่าเรือแห่งประเทศไทย
Other Titles: Integrated health programmes for staffs and employess of the Port Authority of Thailand
Authors: กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สาวภา มีถาวรกลุ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีรชาติ สว่างนพ, 2498-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: การท่าเรือแห่งประเทศไทย -- พนักงาน -- สุขภาพและอนามัย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและลักษณะการบริหารสุขภาพ บุคลากรการท่าเรือแห่งประเทศไทย (2) ศึกษาทัศนคติของบุคลากรการท่าเรือแห่งประเทศไทยที่มี ต่อโครงการบริหารสุขภาพที่สำนักแพทย์และอนามัยกำหนดขึ้น (3) เสนอแนะแนวทางในการ บริหารสุขภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรการท่าเรือแห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วยบุคลากรการท่าเรือแห่งประเทศไทย จำนวน 346 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 3440 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและรวบรวมนำมา วิเคราะห์ประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติในการวิจัยเชิงพรรณนา คือ ค่าเฉลี่ย ค่า ร้อยละ และสถิติอนุมาน คือการทดสอบแบบที แบบเอฟ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบรายคู่แบบ LSD ทดสอบกรณีที่มีความแปรปรวนแตกต่างกัน ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายสุขภาพ ในระดับปานกลาง (2) ทัศนคติต่อโครงการบริหารสุขภาพที่สำนักแพทย์และอนามัยจัดทุกโครงการ อยู่ในระดับสูงมาก (3) ภูมิหลังของบุคลากรในเรื่องระดับการศึกษา และอัตราเงินเดือน ที่แตกต่าง กันมีผลต่อทัศนคติต่อโครงการบริหารสุขภาพที่แตกต่างกันบางโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ส่วนภูมิหลังด้านอื่นๆ ไม่มีผลกับทัศนคติ (4) บุคลากรที่มีระดับความรู้เกี่ยวกับ นโยบายบริหารสุขภาพที่แตกต่างกันจะมีความสัมพันธ์กับทัศนคติของบุคลากรต่อโครงการบริหาร สุขภาพที่ แตกต่างกันทุกโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นโครงการสุขภาพ ตามสายกับโครงการลดไขมันในเลือด ข้อเสนอแนะ (1) จัดให้มีชั่วโมงที่จะพัฒนาด้านสุขศึกษา และพลศึกษา เพื่อดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวควบคู่กับความรู้ในด้านการปฏิบัติงาน (2) บุคลากรมีความสนใจในสุขภาพตนเองเป็นจำนวนมากควรที่จะนำโครงการเกี่ยวกับสุขภาพมา เสนอบุคลากรมากขึ้น ทำให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น (3) จัดให้มีสถานีออก กำลังกายเพื่อแนะนำการออกกำลังกายที่ถูกต้อง และแนะนำทักษะในการเล่นกีฬา สร้างสุขภาพให้ แข็งแรง (4) เสนอให้ความรู้ด้านสุขภาพในสารสัมพันธ์ (5) การมีสถานีออกกำลังกาย จัดให้เป็น สวัสดิการ หรือให้เสียค่าใช้จ่ายน้อย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8296
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
99002.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons