กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8296
ชื่อเรื่อง: | การบริหารสุขภาพบุคลากรการท่าเรือแห่งประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Integrated health programmes for staffs and employess of the Port Authority of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กิ่งพร ทองใบ ธีรชาติ สว่างนพ, 2498- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สาวภา มีถาวรกลุ |
คำสำคัญ: | การท่าเรือแห่งประเทศไทย--พนักงาน--สุขภาพและอนามัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและลักษณะการบริหารสุขภาพบุคลากรการท่าเรือแห่งประเทศไทย (2) ศึกษาทัศนคติของบุคลากรการท่าเรือแห่งประเทศไทยที่มีต่อโครงการบริหารสุขภาพที่สำนักแพทย์และอนามัยกำหนดขึ้น (3) เสนอแนะแนวทางในการบริหารสุขภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรการท่าเรือแห่งประเทศไทยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วยบุคลากรการท่าเรือแห่งประเทศไทย จำนวน 346 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 3440 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและรวบรวมนำมาวิเคราะห์ประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติในการวิจัยเชิงพรรณนา คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และสถิติอนุมาน คือการทดสอบแบบที แบบเอฟ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบรายคู่แบบ LSD ทดสอบกรณีที่มีความแปรปรวนแตกต่างกัน ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายสุขภาพในระดับปานกลาง (2) ทัศนคติต่อโครงการบริหารสุขภาพที่สำนักแพทย์และอนามัยจัดทุกโครงการอยู่ในระดับสูงมาก (3) ภูมิหลังของบุคลากรในเรื่องระดับการศึกษา และอัตราเงินเดือน ที่แตกต่างกันมีผลต่อทัศนคติต่อโครงการบริหารสุขภาพที่แตกต่างกันบางโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนภูมิหลังด้านอื่นๆ ไม่มีผลกับทัศนคติ (4) บุคลากรที่มีระดับความรู้เกี่ยวกับนโยบายบริหารสุขภาพที่แตกต่างกันจะมีความสัมพันธ์กับทัศนคติของบุคลากรต่อโครงการบริหารสุขภาพที่ แตกต่างกันทุกโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นโครงการสุขภาพตามสายกับโครงการลดไขมันในเลือด ข้อเสนอแนะ (1) จัดให้มีชั่วโมงที่จะพัฒนาด้านสุขศึกษาและพลศึกษา เพื่อดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวควบคู่กับความรู้ในด้านการปฏิบัติงาน (2)บุคลากรมีความสนใจในสุขภาพตนเองเป็นจำนวนมากควรที่จะนำโครงการเกี่ยวกับสุขภาพมาเสนอบุคลากรมากขึ้น ทำให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น (3) จัดให้มีสถานีออกกำลังกายเพื่อแนะนำการออกกำลังกายที่ถูกต้อง และแนะนำทักษะในการเล่นกีฬา สร้างสุขภาพให้แข็งแรง (4) เสนอให้ความรู้ด้านสุขภาพในสารสัมพันธ์ (5) การมีสถานีออกกำลังกาย จัดให้เป็นสวัสดิการ หรือให้เสียค่าใช้จ่ายน้อย |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8296 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License