Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/831
Title: การใช้สถานที่ขังแทนการขังหรือจำคุกในเรือนจำ
Other Titles: An approach to alternative imprisonment
Authors: ภาณุมาศ ขัดเงางาม
รุ้งทิพย์ แซ่แง่, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วรรณวิภา เมืองถ้ำ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--วิทยานิพนธ์
การกักขังผู้กระทำผิด
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่องการใช้สถานที่ขังแทนการขังหรือจําคุกในเรือนจํานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวคิดและทฤษฎีและหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการใช้สถานที่ขังแทนการขังหรือจําคุกในเรือนจํา ที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิใช้มาตรการสถานที่ขังแทนเรือนจํา การลงโทษจําคุก ในสถานที่ขังแทนเรือนจํา รูปแบบการควบคุมตัวในสถานที่ขัง สถานที่ขังของเอกชนและเสนอแนะ แนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้สถานที่ขังแทนการขังหรือจําคุกในเรือนจําได้อย่างเหมาะสม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิจัยเอกสารจากการค้นคว้าและรวบรวมจาก ตัวบทกฎหมาย หนังสือ วิทยานิพนธ์ บทความ คําสั่งหรือคําพิพากษาของศาล สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจะแบ่งเป็นตามขั้นตอนตั้งแต่การใช้สถานที่ขังกับผู้ต้องหาที่อยูในระหว่างสอบสวน จําเลยที่อยูในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล และนักโทษที่จําคุกตามคําพิพากษา ของศาลมาแล้วระยะเวลาหนึ่ง ผลการวิจัยพบว่าเหตุที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 89/1และมาตรา 89/2 ไม่เคยถูกนํามาบังคับใช้เลย เนื่องจากมีความไม่ชัดเจนในเรื่องคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิใช้มาตรการ สถานที่ขังแทนเรือนจํา ในต่างประเทศนั้นมีการกำหนดเงื่อนไขต้องห้ามใช้สถานที่ขังกับผู้กระทําความผิดบางกลุ่ม ไว้อย่างชัดเจน คือ ความผิดร้ายแรงบางฐานและมีลักษณะการกระทําความผิด ตามที่กำหนดไว้ หรือเป็นการกระทําความผิดซ้ำ จําเลยหรือผู้ต้องหาที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา ก็จะสามารถอยู่ในสถานที่ขังและไปทํางานหรือไปเรียนได้ตามปกติโดยติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อติดตามตัว และยังสามารถที่จะควบคุมตัวไว้ในสถานที่ขังบางช่วงเวลาได้สําหรับในความผิด ที่ไม่ร้ายแรง ศาลสามารถที่ลงโทษจําคุกผู้กระทําความผิดโดยจําคุกในสถานที่ขังแทนการส่งตัว ไปเรือนจําได้เลย และยังมีการจัดตั้งสถานที่ขังและเรือนจําเอกชนในลักษณะที่รัฐให้เอกชนก่อสร้าง หรือให้สัมปทานในการดูแลโดยที่รัฐยังเป็นผู้ควบคุมอย่างใกล้ชิด โดยแบ่งแยกนักโทษตามวัย เพศ ลักษณะการกระทําความผิด เพื่อมุ่งเน้นในการแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และยังเปิดโอกาสได้ทํางาน และนําเงินมาจ่ายค่าเช่าสถานที่ขัง ทําให้ผู้ต้องขังมีชีวิตความเป็นอยูที่ดีขึ้น
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/831
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib155191.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.34 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons