Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/833
Title: | ผลของการจัดการความรู้ต่อระดับไขมันในเลือดและดัชนีมวลกายของวัยทำงานที่มีไขมันในเลือดสูง ชุมชนหอมแดง อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ |
Other Titles: | Effects of knowledge management on the lipidemia level and the boby mass index for a group of working age with lipidemia in Homdaeng community, Yang Chum Noi District, Sisaket Province |
Authors: | มุกดา หนุ่ยศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา วิไลวรรณ ทองเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา ชฎาภรณ์ ศรบุญทอง, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ ไขมันในเลือด ภาวะไขมันสูงในเลือด การให้ความรู้แก่ผู้ป่วย |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้และพฤติกรรมการลดระดับไขมันในเลือด ระดับไขมันในเลือด และดัชนีมวลกายของบุคคลวัยทำงานที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง ระหว่างก่อนและหลังใช้กระบวนการจัดการความรู้ และสังเคราะห์แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการไขมันในเลือดสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครกลุ่มวัยทำงานอายุระหว่าง 25-59 ปี ที่อาศัยอยู่ในชุมชนหอมแดง อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ และตรวจพบไขมันในเลือดสูง โดยมีข้อมูลบันทึกในฐานข้อมูล Himpro โรงพยาบาลยางชุมน้อย ได้จากการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ในการคัดเข้าศึกษาจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นชุดของกิจกรรมกลุ่มตามกระบวนการจัดการความรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยใช้แนวคิดกระบวนการจัดการความรู้ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.ร.) และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติซึ่งพัฒนามาจากแนวคิดการจัดการความรู้ของโนนากะและทาคิวชิ ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ความรู้ในการจัดการลด ระดับไขมันในเลือดและพฤติกรรมการลดระดับไขมันในเลือด ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามส่วนที่ 2 และ 3 เท่ากับ 0.86 และ 0.95 ตามลำดับ อุปกรณ์การตรวจระดับไขมันในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และพฤติกรรมในการจัดการลดระดับไขมันในเลือด หลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระดับไขมันในเลือดและดัชนีมวล กายหลังการทดลองต่ำกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการไขมันในเลือดสูง คือ ตั้งเป้าหมายและปฏิบัติตามพันธะสัญญาของกลุ่มออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที ออกกำลังกายไปพร้อมกับการทำงานที่แปลงหอม รับประทานอาหารแต่พอดี หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง อาหารผัด ทอดโดยเฉพาะแมลงทอด ชา กาแฟ ลดเนื้อสัตว์ แป้ง และอาหารมื้อเย็น รับประทานผัก ปลา ธัญพืชและสมุนไพรพื้นบ้านให้มากขึ้น ดำเนินชีวิตตามคำสอนทางพระพุทธศาสนา ทำบุญตามประเพณี และมีกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/833 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext 156760.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License