กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8346
ชื่อเรื่อง: การปรับตัวของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โซ่ห่วย) ในจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The adaptation of traditional retail shop (Chohuay) in Nakhonsawan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุทธนา ธรรมเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิจจารีย์ มีโชติ, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด --การศึกษาเฉพาะกรณี
ร้านค้าปลีก--ไทย--นครสวรรค์
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชห่วย) ในการเข้ามาของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (2) ระดับการปรับตัวของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชห่วย) การศึกษาครั้งนี้ประชากรคือ ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชห่วย) ที่ดำเนินกิจการอยู่ใน จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 2,700 ร้านค้า กำหนดขนาดตัวอย่าง จำนวน 348 ตัวอย่าง มีวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนคือ 1) สุ่มอย่างง่าย เป็นการสุ่มพื้นที่อำเภอในจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ อำเภอชุมแสง และอำเภอเกาเลี้ยว ขั้นตอนที่ 2) สุ่มร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมโดยใช้วิธี ตามสะดวก จำนวน 348 ร้านค้า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบใน ด้านการตลาด ด้านการเงินอยู่ในระดับปานกลาง และด้านการดำเนินการอยู่ในระดับน้อย (2) การปรับตัวของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชห่วย) ด้านการตลาด มีการปรับตัวในระดับปานกลาง ส่วนด้านการเงินและด้านการจัดการภายในอยู่ในระดับน้อย สำหรับการปรับตัวด้านการบริหารงานบุคคลและด้านสารสนเทศมีการปรับตัวน้อยที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8346
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_137428.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons