กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/834
ชื่อเรื่อง: | การปล่อยชั่วคราว : ศึกษากรณีการผิดสัญญาประกันต่อศาลและการบังคับตามสัญญาประกัน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Provisional release : case of breach of bail bond to the court and enforce by the bail conditions |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชนินาฎ ลีดส์ วิระอนงค์ จงจิตร, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พงษ์สิทธิ์ อรุณรัตนากุล |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--วิทยานิพนธ์ การปล่อยชั่วคราว |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิทยานิพนธ์ เรื่อง การปล่อยชั่วคราว ศึกษากรณีการผิดสัญญาประกันต่อศาล และการบังคับตามสัญญาประกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฏี กฎหมายของ ต่างประเทศและกฎหมายไทย เกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราว การบังคับตามสัญญาประกันและบทลงโทษกับผู้ต้องหรือจำเลยกรณีหลบหนี (2) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการปล่อยชั่วคราว การผิดสัญญาประกัน และการบังคับกับหลักประกัน รวมถึงผลกระทบจากการปล่อยชั่วคราว ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายไทย (3) หาแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ หรือข้อบังคับ เกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราว และมาตรการป้องกันการผิดสัญญาประกันและการบังคับกับหลักประกัน รวมถึงบทลงโทษกับผู้ต้องหาหรือจำเลย เพื่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างเสมอภาค การศึกษาวิจัยเป็นการศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยทำการศึกษาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในสังคมจากการติดตามข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการศึกษาค้นคว้าโดยการวิจัยทางเอกสาร ทั้งที่เป็นเอกสาร ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นตัวบทกฎหมาย ตำราทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความจากวารสารหรือนิตยสารทางกฎหมาย หนังสือพิมพ์ รวมถึงบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดจน ข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ ทางอินเทอร์เน็ต เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์และหาข้อสรุป สำหรับใช้เป็นแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาในคดีอาญาผู้ต้องหาหรือจำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวต่อเมื่อมีประกันและหลักประกัน แต่การผิดสัญญาประกันกลับไม่สามารถดำเนินการบังคับกับหลักประกันหรือผู้ขอประกัน ตามสัญญาประกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสาเหตุประการสำคัญมาจากผู้ขอประกันยื่นขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลในลักษณะกลฉ้อฉล โดยเจตนาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์อันมิควรได้ โดยชอบด้วยกฎหมาย นอกจากผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมแล้ว ยังก่อความเสียหายต่อรัฐและประชาชนในสังคม โดยปราศจากมาตรการทางกฎหมายสำหรับใช้ป้องกันและควบคุมการกระทำดังกล่าว ของผู้ขอประกันได้ อีกทั้งการหลบหนีของผู้ต้องหาหรือจำเลยในระหว่างการดำเนินคดีอาญาก็ปราศจาก ซึ่งความรับผิดและบทกำหนดโทษทางกฎหมาย ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไข กฎหมาย กฎระเบียบ หรือข้อบังคับ รวมถึงมาตรการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการปล่อย ชั่วคราวในคดีอาญาโดยรัฐ ให้ตรงตามวัตถุประสงค์แห่งกฎหมายและความยุติธรรม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/834 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib162194.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.49 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License