Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8360
Title: | ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อส่วนประสมการตลาดของห้างโฮมโปร สาขานครศรีธรรมราช |
Other Titles: | Customer satisfaction towards marketing mix of Homepro Nakhon Si Thammarat |
Authors: | เสาวภา มีถาวรกุล สิรภัทรญ์ ตันตระกูล, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี บริษัทโฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ ความพอใจของผู้บริโภค การศึกษาอิสระ--การตลาด |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาเรื่องความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อส่วนประสมการตลาดของ ห้างโฮมโปร สาขาจังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าของ ห้างโฮมโปร สาขานครศรีธรรมราช (2) ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อส่วนประสมการตลาดของ ห้างโฮมโปร สาขานครศรีธรรมราช (3) เปรียบเทียบความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อส่วนประสมการตลาดของห้างโฮมโปร สาขานครศรีธรรมราช โดยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ลูกค้าที่ใช้บริการ ห้างโฮมโปร สาขานครศรีธรรมราช จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ค่าร้อยละ ในส่วนของการวิเคราะห์ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อส่วนประสมการตลาด สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการเปรียบเทียบความพึงพอใจของลูกค้าโดยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่าที และค่าเอฟ ผลการศึกษาพบว่า (1) ลูกค้าที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.8 มีอายุ 35 – 44 ปี ร้อยละ 62.5 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 52.5 ทำงานเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 48.5 มีรายได้ 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 31.0 (2) ลูกค้ามีความพึงพอใจ ต่อส่วนประสมการตลาดด้านสินค้าและบริการ ราคา สถานที่บริการ อยู่ในระดับมาก ส่วนความ พึงพอใจต่อการส่งเสริมการตลาดอยู่ในระดับปานกลาง (3) ลูกค้าที่มีเพศ อายุ รายได้ การศึกษา แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อส่วนประสมการตลาดด้านสินค้าและบริการ สถานที่บริการ และ การส่งเสริมการตลาด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนลูกค้าที่มีอาชีพแตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อส่วนประสมการตลาดไม่แตกต่างกัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8360 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_151516.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License