Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8364
Title: ความคาดหวังและการรับรู้ของประชาชนต่อโครงการด้านความปลอดภัยบนท้องถนนของบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Expectation and perception of people on the road safety project of Toyota Motor Thailand Company Limited in Bangkok Metropolis
Authors: ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิชญภา กาลามเกษตร์, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด --การศึกษาเฉพาะกรณี
ความปลอดภัยในท้องถนน
การศึกษาอิสระ--การตลาด
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่เคยร่วมหรือรู้จัก โครงการด้าน ความปลอดภัยบนท้องถนน ของบริษัท โตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จํากัด (2) ระดับความคาดหวังและระดับการรับรู้ของประชาชนต่อโครงการด้านความปลอดภัยบนท้องถนน (3) เปรียบเทียบความแตกต่างของการคาดหวังและการรับรู้ของประชาชนต่อโครงการด้านความปลอดภัยบนท้องถนน จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากรคือประชาชนที่มีอายุระหว่าง 18-60 ปี ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 4,407,784 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 จำนวน 400 คน ซึ่งเป็นผู้ที่เคยเข้าร่วมหรือรู้จักโครงการด้านความปลอดภัยบนท้องถนน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ผลการศึกษา พบว่า ( 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 26-35 ปี สถานภาพ โสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี เป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือน 15,001-25,000 บาท รู้จัก โครงการฯ ถนนสีขาวมากที่สุด โดยได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโครงการฯ จากสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์หรือวิทยุ (2) ระดับความคาดหวังและระดับการรับรู้ของประชาชนต่อโครงการฯ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากตามลำดับคือ ด้านผลลัพธ์/ประโยชน์ต่อประชาชน ด้านผลลัพธ์/ประโยชน์ต่อประเด็นปัญหาของ สังคม และด้านผลลัพธ์/ประโยชน์ต่อองค์กร (3) เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความคาดหวังและ ระดับการรับรู้ต่อโครงการฯ พบว่า อายุ อาชีพ และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันมีระดับความคาดหวังและระดับการรับรู้แตกต่างกัน โดยมีระดับความคาดหวังมากกว่าระดับการรับรู้ในด้านผลลัพธ์/ประโยชน์ต่อ ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน และด้านผลลัพธ์/ประโยชน์ต่อประเด็นปัญหาของสังคม ขณะที่ด้านผลลัพธ์/ ประโยชน์ต่อองค์กร มีระดับการรับรู้มากกว่าระดับความคาดหวัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8364
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_148801.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.37 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons