กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8365
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองนาคำ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: People's participation in developing Nhongnakham Sub district administrative organization, Muang, Udon Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนิตย์ เหมนิล, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองนาคำ--การบริหาร--การมีส่วนร่วมของประชาชน
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น (2) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองนาคำ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วน ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 389 คน ที่ได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ แบ่งกลุ่ม เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามในการเก็บรวมรวมข้อมูล ซึ่งแบบสอบถามมีค่าความ เชื่อมั่นเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ค่าสถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ ความแปรปรวน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองนาคๆ อยู่ในระดับน้อยทั้งในภาพรวมและรายด้านทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการร่วมประชุมและวางแผน ด้านการดำเนินการ ด้านการรับผลประโยชน์ และด้านติดตาม ตรวจสอบ (2) การเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคล แตกต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมที่แตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน (3) ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองนาคำ คือ ด้านการร่วมประชุมและวางแผน องค์การบริหารส่วนตำบลควรจัดเวทีประชาคมในช่วงเวลา ที่เหมาะสม และควรสำรวจสภาพปัญหาของหมู่บ้านก่อนที่จะมีการจัดทำแผนพัฒนา ส่วนด้านการดำเนินการองค์การบริหารส่วนตำบลควรกำหนดแนวทางงาน เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างชัดเจน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8365
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
futext_130053.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons