Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8370
Title: การประเมินผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลเวียงฝาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: An evaluation of Wiang-fang Sub-district Municipality Fang District, Chiang Mai Province
Authors: จีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรุณรัตน์ สว่าง, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
เทศบาลตำบลเวียงฝาง--การบริหาร
การประเมินผลงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลเวียงฝาง อำเภอ ฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ใน 4 ด้าน คือ ด้านการเงิน ด้านกระบวนการภายในองค์การ ด้านประชาชนผู้รับบริการ และ ด้านการเรียนรู้และพัฒนาองค์การ (2) ศึกษาปัญหาการบริหารงานของเทศบาลตำบลเวียงฝาง (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของเทศบาลตำบลเวียงฝาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากร คือ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในเทศบาลตำบลเวียงฝาง จำนวน 30 คนและ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 5 หมู่บ้าน มีผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 5,462 คน กลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนผู้มีสิทธิ เลือกตั้ง จำนวน 372 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินการปฏิบัติงาน แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา โดยการ วิเคราะห์สรุปและวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากเอกสารและการสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) ผลการปฏิบัติงานด้านการเงิน เทศบาลตำบลเวียงฝางมีรายรับมากกว่า รายจ่ายทุกปีงบประมาณ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2552-2555 โดยรายรับที่สูงกว่ารายจ่ายเกิดจากเงินอุดหนุนจาก ภาครัฐ ด้านกระบวนการภายในองค์การ มีเกณฑ์การดำเนินงานได้คะแนนร้อยละ 77.96 อยู่ในระดับดี ด้านประชาชนผู้รับบริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการที่มีต่อเทศบาลตำบลเวียงฝางอยู่ในระดับมาก ด้านการเรียนรู้และพัฒนาองค์การ พบว่า เทศบาลตำบลเวียงฝางมีการพัฒนาบุคลากรเพิ่มความรู้และทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ในระดับดี (2) ปัญหาของการดำเนินงาน ปัญหาด้านการเงิน รายได้ที่จัดเก็บไม่เพียงพอต่อการพัฒนาท้องถิ่นตามแผนพัฒนาให้ครบทุกโครงการ ปัญหาด้านกระบวนการภายในองค์การ การวางแผนโครงการไม่สมดุลกับขีดความสามารถของเทศบาล ทำให้ไม่สามารถดำเนินโครงการได้ครบถ้วนตามแผน ปัญหาด้านประชาชน ผู้รับบริการ ประชาชนยังขาดความเข้าใจในบทบาทอำนาจหน้าที่ของเทศบาล ปัญหาด้านการเรียนรู้และพัฒนา องค์การ ขวัญและกำลังใจมีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาล (3) ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาด้าน การเงิน เทศบาลควรมีการวางแผนการใช้จ่ายให้ตรงตามความจำเป็นเร่งด่วนของท้องถิ่น ด้านกระบวนการภายในองค์การ เทศบาลควรมีการระดมความคิดเห็นจากประชาชน เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนา โดยคำนึงถึงศักยภาพเทศบาลอย่างแท้จริง ด้านประชาชนผู้รับบริการ เทศบาลควรมีการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจกับ ประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของเทศบาล ด้านการเรียนรู้และพัฒนาองค์การ เทศบาลควรมีการเพิ่มขีด ความสามารถของบุคลากรอยู่เสมอ โดยจัดให้มีการฝึกอบรมหรือฝึกทักษะ ตลอดจนดูแลงบประมาณในด้านวัสดุ อุปกรณ์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการประชาชน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8370
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_134753.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.24 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons