Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8376
Title: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ในยุคปฏิรูประบบราชการของพนักงานเทศบาล : กรณีศึกษาเทศบาลนครพิษณุโลก เทศบาลนครอุดรธานี และเทศบาลนครตรัง |
Other Titles: | Factors affecting the operational readiness of municipal officials in public sector reform period : a case study of Phitsanulok, Udon Thani, and Trang Municipalities |
Authors: | รสคนธ์ รัตนเสริมพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา วรรณ์ดี แสงประทีปทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา ปภาวดี ประจักษ์ศุภนิติ, อาจารย์ที่ปรึกษา วิศัลยา พูพัฒนานุรักษ์, 2503- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์ เทศบาลนครพิษณุโลก -- พนักงาน เทศบาลนครอุดรธานี -- พนักงาน เทศบาลนครตรัง -- พนักงาน การทำงาน |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงศ์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมใน การปฏิบัติหน้าที่ในยุคปฏิรูประบบราชการของพนักงานเทศบาลนครพิษณุโลก เทศบาลนครอุดรธานี และ เทศบาลนครตรัง 2) เปรียบเทียบความดิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ในยุคปฎิรูป ระบบราชการของพนักงานเทศบาลนครพิษณุโลก เทศบาลนครอุดรธานี และเทศบาลนครตรัง 3) ศึกษาความ คิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคต่อความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ในยุคปฎิรูปประบบราชการของพนักงาน เทศบาลพิษณุโลก เทศบาลอุดรธานี และเทศบาลนครตรัง และ 4) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาความพร้อมใน การปฏิบัติหน้าที่ในยุคปฎิรูประบบราชการของพนักงานเทศบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรเทศบาลนครพิษณุโลก เทศบาลนครอุดรธานี และเทศบาลนครตรัง จำนวน 254 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ (1) ความรู้ความเข้าใจในการทำงาน (2) การสนับสนุน การทำงานจากผู้บังคับบัญชา (3) การมีส่วนร่วมของพนักงาน (4) การสื่อสาร (5) การฝึกอบรม (6) เครื่องมือใน การทำงาน และ (7) ค่านิยมของบุคลากร ส่งผลต่อความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ ในระดับมาก 2) ความดิดเห็น ของบุคลากรในแต่ละหน่วยงานเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่มีความนตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเมื่อพิจารฌาเป็นรายปัจจัย พบว่าด้านเครื่องมือในการทำงาน ไม่แตกต่างกัน 3) ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญคือ พนักงานยึดติดกับค่านิยมในการทำงานแบบเดิมและระบบอุปถัมภ์ และพนักงาน ขาดทักษะ ความรู้ความเข้าใจในการทำงาน ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ในยุคปฎิรูประบบราชการของพนักงาน เทศบาล คือ การปลูกฝังให้มีความสามัคคีในหมู่พนักงาน การสร้างค่านิยมใหม่ให้ปฏิบัติหน้าที่โดยมีจิตสำนึกที่ คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรมและจริยธรรม มีการอบรมพัฒนา ทักษะการทำงานของพนักงานให้มีความรู้ในการปฏิบัติหน้าที่ อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8376 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License