กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8377
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำการจัดการความรู้มาใช้ในองค์กร : กรณีศึกษาสำนักข่าวกรองแห่งชาติ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors influencing the achievement of implementing knowledge management in organization : a case study of National Intelligence Agency |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา วิไล วัฒนดำรงค์กิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา สร้อยสน สุจริต, 2509- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ การจัดการองค์การ การบริหารองค์ความรู้ |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสำเร็จของการนำการจัดการความรู้มาใช้ในสำนัก ข่าวกรองแห่งชาติ- 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิหลต่อความสำเร็จในการนำการจัดการความรู้มาใช้ในสำนัก ข่าวกรองแห่งชาติ และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการความรู้มาใช้ในสำนักข่าวกรองแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นข้าราชการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างตาม แนวคิดของ Taro Yamane ไว้จำนวน 278 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดให้เลือกตอบ (Checklist) และ แบบสอบถามแบบปลายเปิด การวิเคราะห์ค่าทดสอบสถิติ t (t- test) และการวิเคราะห์การ ถดถอยพทุคูณแบบขั้นตอน (stepwise multiple regression analysis) ผลการศึกษาวิจัยพบว่าความสำเร็จในการนำการจัดการความรู้มาใช้ในสำนักข่าวกรองแห่งชาติ อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 74.5 อย่างมีนัยสำคญทางสถิติ ณ ระดับ .05 และ ตัวแปรอิสระที่สามารถ อธิบายถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำการจัดการความรู้มาใช้ในสำนักข่าวกรองแห่งชาติ จำนวน 3 ตัวแปร เรียงลำดับตามตัวแปรที่มีอิทธิพลมากที่สุด ได้แก่ ตัวแปรด้านความรู้ความเข้าใจ ตัวแปรด้านวัฒนธรรม องค์กร และตัวแปรด้านความชัดเจนของนโยบายและกลยุทธ์ สำหรับประเด็นปัญหาอุปสรรคของกลุ่มตัวอย่างและการวิจัย คือ ข้าราชการบางส่วนยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภารกิจด้านการจัดการความรู้ และขาดการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ วัฒนธรรมการทำงานที่ ไม่เอื้อต่อการดำเนินกิจกรรมด้านการจัดการความรู้มากนักเนื่องจากมีภารกิจในการปฏิบัติงานมาก นอกจากนี้ยัง ขาดการประชาสัมพันธ์ภายในหน่วยงานที่ดี อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ยังไม่เพียงพอและไม่ทันสมัย ชึ่งอาจส่งผล ให้การดำเนินการด้านการจัดการความรู้อาจไม่เป็นไปตามแผนงาน จากผลการวิจัยครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะดังนี้ คือ องค์กรควรได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา โดยชักจูงให้ข้าราชการมีความเข้าใจและเห็นถึงประโยชน์ของการจัดการความรู้โดยปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร ที่เต็มใจแลกเปลี่ยนความรู้ชึ่งกันและกัน มีหน่วยงานกลางด้านการจัดการความรู้พื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้อย่างทั่วถึงต่อเนื่อง และการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ค้นหาได้ง่าย สะดวก และทันสมัย และควรสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นและทันสมัย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8377 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License