Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8381
Title: ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการให้การบริการประชาชนด้านการทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนอำเภอ : ศึกษากรณีจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Other Titles: Efficiency and effectiveness of registration service delivery in district civil registration office : a case study of Suratthani Province
Authors: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุมพล หนิมพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
สันติ บุญรอด, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
สำนักทะเบียนอำเภอ -- ไทย -- สุราษฎร์ธานี
ทะเบียนราษฎร์
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับประสิทธิผลและประสิทธิภาพใน การให้บริการประชาชนด้านทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนอำเภอ (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอทธิพล ต่อความมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการให้บริการ และ (3) เสนอแนะแนวทางในการ ปรับปรุงการให้การบริการประชาชนด้านทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนอำเภอ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยประชากรที่ศึกษาเป็นสำนักทะเบียนใน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนผู้รับบริการ จำนวน 400 คน และเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ จำนวน 48 คน จากสำนักทะเบียนอำเภอจำนวน 12 แห่ง ส่วนเครื่องมือ ที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีจำนวน 2 ชุด ชุดแรกใช้สอบถามประชาชนผู้รับบริการชุดที่สองใช้ สอบถามเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ โดยมีค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ .94 ทั้งสองชุด สำหรับสถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน ของสำนักทะเบียนอำเภอ อยู่ในระดับมากกว่าร้อยละ 70 โดยได้ค่าจากการทดสอบ significance <.05 และค่า t >0 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ทั้งไวั (2) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย ต่าง ๆ กับระดับประสิทธิผลและประสิทธิภาพ พบว่า ปัจจัยด้านพฤติกรรมการให้บริการ ระบบ การบริการ และ หลักการบริการ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลการให้บริการประชาชน และปัจจัยด้านทรัพยากรการบริหารมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพการให้บริการ ประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากการวิจัยมีข้อเสนอแนะในการพัฒนาการให้บริการ ได้แก่ การพัฒนาพฤติกรรม การให้บริการของเจ้าหน้าที่ การพัฒนาระบบการบริการ การพัฒนาหลักการบริการ รวมทั้ง การพัฒนาทรัพยากรการบริหารงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8381
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
100793.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.19 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons