กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/841
ชื่อเรื่อง: กระบวนการยุติธรรมชุมชนในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Community Justice in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐพงศ์ โปษกะบุตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สัญญพงศ์ ลิ่มประเสริฐ, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม -- วิทยานิพนธ์
การไกล่เกลี่ย
การระงับข้อพิพาท (กฎหมาย)
การมีส่วนร่วมของประชาชน
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องกระบวนการยุติธรรมชุมชนในประเทศไทยวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย ความสําคัญ บทบาทและแนวคิดทฤษฎีรูปแบบของยุติธรรมชุมชน บทบาทการแก้ไขวิกฤตของกระบวนการยุติธรรม กระแสหลักและเพื่อศึกษารูปแบบของยุติธรรมชุมชนประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ตลอดจนศึกษา ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการนํายุติธรรมชุมชนมาของสํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารทาง วิชาการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมชุมชน เช่น วารสารทางวิชาการ บทความวิชาการ และ บทความวิจัย จากการศึกษาพบว่า 1) กระบวนการยุติธรรมชุมชน คือ กระบวนการที่มีขึ้นเพื่อป้องกันอาชญากรรม ไม่ให้เกิดขึ้นในชุมชน และการร่วมกันเยียวยาความเสียหายจากอาชญากรรมที่เกิดขึ้น 2) มีการนํา กระบวนการยุติธรรมชุมชนมาใช้ใน 3 รูปแบบ ได้แก่ เครือข่ายยุติธรรมชุมชน ศูนย์ยุติธรรมชุมชน และการไกล่ เกลี่ยข้อพิพาท ทั้งสามรูปแบบล้วนมีบทบาทในการแก้ไขวิกฤตกระบวนการยุติธรรมกระแสหลักเป็นอย่างมาก 3) การนํากระบวนการยุติธรรมชุมชนมาใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ของต่างประเทศ แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มที่นํากระบวนการยุติธรรมชุมชนมาใช้โดยตรง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา และสหราชอาณาจักร และกลุ่มที่นํากระบวนการยุติธรรมชุมชนมาใช้ในรูปแบบการจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ในลักษณะการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ได้แก่ สาธารณรัฐเกาหลี และประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อทําการเปรียบเทียบพบว่าทุกประเทศล้วนมีรูปแบบ พื้นฐานการนํากระบวนการยุติธรรมชุมชนมาใช้ที่เหมือนกัน คือกระบวนการยุติธรรมชุมชนสามารถนํามาใช้กับความผิดที่เล็กน้อยเท่านั้น ด้านความแตกต่างพบว่าแตกต่างในเรื่องของแนวทางปฏิบัติบางประการ อาทิ สหราชอาณาจักร ผู้พิพากษาและสถาบันการศึกษาเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับยุติธรรมชุมชน แต่ประเทศไทยผู้พิพากษา ไม่ได้เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องและสถาบันการศึกษามีบทบาทในการเรียนการสอนและศึกษาวิจัยด้าน กระบวนการยุติธรรมชุมชนเท่านั้น ส่วนสาธารณรัฐเกาหลี มีกฎหมายรองรับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญา ขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายดังกล่าว 4) ปัญหาอุปสรรคการนํากระบวนการยุติธรรมชุมชนไปใช้คือ การไม่มีกฎหมายที่สมบูรณ์แบบที่จะใช้กับกระบวนการยุติธรรมชุมชน การดําเนินงานต่างๆ อยู่ภายใต้คําสั่ง กระทรวงยุติธรรมซึ่งมีฐานะเป็นเพียงกฎหมายรองทําให้เกิดผลเสียตามมา ได้แก่ ความไม่ชัดเจนในอํานาจหน้าที่ และการขาดสภาพบังคับใช้ในผลการดําเนินงานด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะว่าควรมีพระราชบัญญัติกระบวนการยุติธรรมชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้นและเพื่อการดําเนินงานด้านกระบวนการยุติธรรมชุมชนอยางมีประสิทธิภาพ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/841
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib152835.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons