กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8415
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์กับทัศนคติต่อโรคเอดส์ของผู้ช่วยพยาบาล โรงพยาบาลแพทย์รังสิต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between knowledge and understanding of AIDS and attitude toward AIDS of assistant nurses in Rungsit General Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปิยะฉัตร ปานรุ่ง, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --การศึกษาเฉพาะกรณี
โรคเอดส์--การพยาบาล
การศึกษาอิสระ--การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
ผู้ช่วยพยาบาล
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์และทัศนคติต่อโรคเอดส์ของผู้ช่วยพยาบาล โรงพยาบาลแพทย์รังสิต และ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์กับทัศนคติต่อโรคเอดส์ของผู้ช่วยพยาบาลโรงพยาบาลแพทย์รังสิต และ (3) เปรียบเทียบทัศนคติต่อโรคเอดส์ของผู้ช่วยพยาบาลโรงพยาบาลแพทย์รังสิต จำแนกตามปัจจัยชีวสังคม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ช่วยพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลแพทย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี จำนวน 110 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถามจำนวน 3 ชุด ได้แก่ (1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป (2) แบบสอบถามความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคเอดส์และ (3) แบบสอบถามทัศนคติต่อผู้ดิดเชื้อเอดส์ มีความเที่ยงเท่ากับ .84 สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความ แปรปรวน และ ค่าลัมประสิทธสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า (1) ผู้ช่วยพยาบาลโรงพยาบาลแพทย์รังสิตร้อยละ 66.36 มีความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์อยู่ในระดับมาก ผู้ช่วยพยาบาลโรงพยาบาลแพทย์รังสิตมีทัศนคติโดยรวมต่อโรค เอดส์ อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกในแต่ละองค์ประกอบของทัศนคติด้านความรู้สึกมีค่าเฉลี่ยมาก ที่สุด รองลงมาด้านความคิด และด้านพฤติกรรมมีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง (2) ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคเอดส์และทัศนคติโดยรวม และทัศนคติรายด้านไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 (3) ผู้ช่วยพยาบาลโรงพยาบาลแพทย์รังสิตที่มีอายุและประสบการณ์ทำงานแตกต่างกันมีทัศนคติ ต่อโรคเอดส์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้ช่วยพยาบาลที่มีระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ การอบรมหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล และการเข้าร่วมอบรม ประชุม สัมมนาเกี่ยวกับโรคเอดส์ต่างกันมีทัศนคติต่อโรคเอดส์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8415
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_140190.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons