กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8422
ชื่อเรื่อง: ส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในเขตนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marketing mix toward affecting consumer decision making to buy organic vegetables in Hatyai district, Songkhla province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสาวภา มีถาวรกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรวิทย์ เจตนาธรรมจิต, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ผักปลอดสารพิษ--การตลาด
ผู้บริโภค--ไทย--สงขลา
การตัดสินใจ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลทั่วไปของผู้บริโภคผักปลอดสารพิษ (2) การ ตัดสินใจซื้อผักปลอดสารพิษ (3) ส่วนประสมการตลาดในการตัคสินใจซื้อผักปลอดสารพิษใน เขตนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคผักปลอดสารพิษในเขตนคร หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 100 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา โคยการใช้ (1) ค่าความถี่และร้อยละในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบ แบบสอบถาม และการตัดสินใจซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภค (2) การ้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบื่ยงเบน มาตรฐาน ใช้ในการวิเคราะห์ระดับความสำคัญของปัจยส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจซื้อผัก ปลอดสารพิษ ผลการวิจัย พบว่า (1) กลุ่มผู้บริโภคเพศหญิงให้ความสนใจในการบริโภคผักปลอดสารพิษ มากกว่าเพศชาย ผู้ที่สมรสแล้วสนใจบริโภคมากกว่าผู้เป็นโสด โดยส่วนมากมีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 3 คน มีอายุอยู่ในช่วง 36- 40 ปี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีรายได้ตั้งแต่ 5,001-10,000 บาท และมี ระดับการศึกษาขั้นปริญญาตรี (2) การตัดสินใจซื้อผักปลอดสารพิษ ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์การซื้อเพื่อ ตนเอง ทานเอง จำนวนเงินที่ซื้อแต่ละครั้งอยู่ระหว่าง 21- 40 บาท ซื้อ 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ มีการวางแผนซื้อ ผักปลอดสารพิษมาก่อน และบุคคลในครอบครัวเป็นแรงกระตุ้นให้ซื้อผักปลอดสารพิษมากที่สุด และ (3) ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจซื้อผักปลอดสารพิษ ผู้บริโภคให้ความสำคัญ ด้านปัจฉัยส่วนประสมการตลาดโดยรวมระดับปานกลาง โดยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านความสด และรสชาติ ของผัก อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านราคาเหมาะสมกับคุณภาพ อยู่ในระดับมาก ด้านการจัดจำหน่าย ด้าน ทำเลที่ตั้งของร้านจำหน่าย และระยะเวลาการจำหน่าย อยู่ในระดับมาก ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการ ส่งเสริมการขายโดยลดราคา การให้คำแนะนำของพนักงานขาย การโฆษณาผ่านสื่อโฆษณา ณ จุดขายการ ส่งเสริมการขายโดยการให้ของแถม การส่งเสริมการขายโดยจัดชั้นวางสินค้า การส่งเสริมการขายโดยแจก คู่มือทำอาหาร อยู่ในระดับมาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8422
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
119820.pdf2.56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons