กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/842
ชื่อเรื่อง: | ประสิทธิ์ผลของโปรแกรมกำกับตนเองร่วมกันแอพพลิเคชั่นไลน์ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ตำบลท่าโรงช้าง จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effectiveness of a self-regulation program with the line application for overweight health volunteers, Tharongchang District, Surat Thani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ดวงกมล ปิ่นเฉลียว สุดาสินี สุทธิฤทธิ์, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติขุมชน--วิทยานิพนธ์ การออกกำลังกาย--ไทย--พฤติกรรม น้ำหนักและการวัด อาสาสมัครสาธารณสุข--ไทย--สุราษฎร์ธานี |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกํากับตนเองร่วมกับแอพพลิเคชันไลน์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอวของอาสา สมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านที่มีนํ้าหนักเกินมาตรฐาน ตําบลท่าโรงช้าง จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านที่มีนํ้าหนักเกินมาตรฐานที่ปฏิบัติงานในเครือข่ายบริการสุขภาพโรงพยาบาลท่าโรงช้าง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จํานวน 48 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 24 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการกำกับตนเองร่วมกับแอพพลิเคชั่นไลน์ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการกำกับตนเองของแคนเฟอร์ (1980) ประกอบด้วย แผนการสอน คู่มือการปฏิบัติตัวสําหรับผู้ที่มีนํ้าหนักเกินมาตรฐาน และสมุดบันทึกการกำกับตนเอง และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการออกกำลังกาย มีค่าความเที่ยงเท่ากบ .86 และ .90 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการออกกำลังกายของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านหลังเข้าร่วมโปรแกรมดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและดีกวากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอวของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านหลังเข้าร่วมโปรแกรมน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/842 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext 157800.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.87 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License