Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8441
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับความผูกพันในองค์การของบุคลากรโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)
Other Titles: Relationships between human resources management and organizational commitment of employees at Banphaeo General Hospital
Authors: นิตยา พลอยเพชร, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิตยา พลอยเพชร, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ทรัพยากรมนุษย์--การจัดการ
ความผูกพันต่อองค์การ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาเรื่องนี้วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) ระดับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์การของบุคลากร โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) (2) ระดับความผูกพันในองค์การของบุคลากร โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) (3) เปรียบเทียบความผูกพันในองค์การจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคลในองค์การของบุคลากรโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) (4) ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับระดับความผูกพันในองค์การของบุคลากร โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) จำนวน 1,213 คน ใช้การคำนวณกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางของเครซี่และมอร์แกนได้จำนวน 297 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานได้แก่ ด้วยการทคสอบค่าที ค่าเอฟ เมื่อพบความแตกต่าง จึงนำมาเปรียบเทียบรายคู่ด้วยการทดสอบผลต่างนัขสำคัญน้อยที่สุดด้วยเชพเฟ และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการประเมินผลงานอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาค้านการวางแผนและสรรหากัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ และน้อยที่สุดคือด้านการจัดการค่าตอบแทน (2) ระดับความผูกพันในองค์การภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความผูกพันด้านความรู้สึก อยู่ในระดับมาก รองลงมาด้านความผูกพันด้านบรรทัดฐาน และน้อยที่สุดด้านความต่อเนื่อง(3) เพศ ระดับการศึกษา และตำแหน่งงานที่แตกต่างกันมีความผูกพันในองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยค้านอายุและระยะเวลาปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน มีระดับความผูกพันในองค์การไม่แตกต่างกัน (41) ระดับการจัดการทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์กับระดับความผูกพันในองค์การไปในทิศทางบวกและอยู่ในระดับน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8441
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_161415.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.21 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons