กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8444
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แอมเวย์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marketing factors affecting Amway Products buying behavior of consumers in Muang District, Nakhonratchasima Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เชาว์ โรจนแสง, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิไลพร คบขุนทด, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
แอมเวย์--การตลาด
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--นครราชสีมา
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริโภคในเขตอำเภอ เมืองนครราชสีมาที่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์แอมเวย์ (2) พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แอมเวย์ของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมา (3) เปรียบเทียบความแตกต่างของส่วนประสมทางการตลาคจำแนกตาม ลักษณะส่วนบุคคล (4) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แอมเวย์กับลักษณะส่วน บุคคลกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมาและเคย เลือกซื้อผลิตภัณฑ์แอมเวย์ จำนวน 400 ราย ทำการสุมตัวอย่างโคยใช้ความสะควกและใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการวิจัย ค่าสถิติที่ใช้คือ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ด่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การ ทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทคสอบความสัมพันธ์ไคลสแควร์ วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21-30 ปี อาชีพข้าราชการเจ้าหน้าที่ ระดับการศึกษาสูงสุดปริญญาตรี และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท (2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นนักธุรกิจแอมเวย์ ตนเองมีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อมากที่สุด เลือกซื้อสำหรับตนเองและบุคคลอื่นโคย เลือกซื้อแล้วแต่โอกาสในปริมาณ 1-10 ชิ้น และใช้เงินซื้อแต่ละครั้งไม่แน่นอน เลือกซื้อที่แอมเวย์ ช็อป เลือกซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับเรือนร่างมากที่สุด และเหตุผลที่เลือกซื้อคือ ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและพิสูจน์ได้จริง (3) การเปรียบเทียบความแตกต่างของส่วนประสมทางการตลาดจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคลพบว่าด้าน เพศและระดับการศึกษาสูงสุด มีระดับความสำคัญไม่แตกต่างกัน ด้านอายุ อาชีพและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีระดับความสำคัญแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) การทดสอบความสัมพันธ์ ระหว่างพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แอมเวย์กับลักษณะส่วนบุคคล พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นช่องทางในการเลือกซื้อ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับลักษณะส่วน บุคคลในด้านใดเลย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8444
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
130393.pdf4.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons