กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/847
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยการบริหารงานคุณภาพและการสนับสนุนจากองค์กรกับผลการปฏิบัติงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Quality management and organization support factors and the performance of cervical carcinoma screening of sub-district health officers in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์ นันทวัน บุญอร่ามพงษ์, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นิตยา เพ็ญศิรินภา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ปากมดลูก--มะเร็ง--การวินิจฉัย |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยคุณลักษณะ ส่วนบุคคล ปัจจัยการบริหารงานคุณภาพ และปัจจัยการสนับสนุนจากองค์กร (2) ระดับของผลการปฏิบัติงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (3) ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยที่ศึกษากับผลการปฏิบัติงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (4) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล ที่รับผิดชอบงานมะเร็งปากมดลูก ทั้งหมด 206 คน ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยง 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน โดยการทดสอบค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้รับผิดชอบงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 39 ปี สถานภาพสมรสคู่ สําเร็จการศึกษาระดับปริญญตรี มีรายได้เฉลี่ย 21,205 บาท อายุราชการเฉลี่ย 18 ปี และมีประสบการณ์การปฏิบัติงานเฉลี่ย 8 ปี ผู้รับผิดชอบงานมีความคิดเห็นต่อปัจจัยการบริหารงานคุณภาพอยู่ในระดับสูง ปัจจัยการสนับสนุนจากองค์กรอยู่ในระดับปานกลาง (2) ผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับต้องปรับปรุง (3) ปัจจัยการบริหารงานคุณภาพในภาพรวมและด้านการวางแผนงาน และปัจจัยการสนับสนุนจากองค์กร มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ พบว่า มีผู้รับบริการน้อยและไม่มาตามนัด เพราะอายกลุ่มเป้าหมายบางส่วนทำงานอยู่นอกพื้นที่และอยู่ในโรงงาน โดยมีข้อเสนอแนะว่า ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ เช่น โทรทัศน์ ส่วนปัญหาขาดเจ้าหน้าที่ งบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ ไม่เพียงพอ ควรสนับสนุนให้มีการทำงานเป็นทีมและเครือข่าย โดยมีแผนเชิงรุกทั้งในชุมชนและในโรงงาน และการจัดสรรงบประมาณสำหรับงานนี้โดยตรงและเพียงพอ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/847 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
108827.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.42 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License