Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8488
Title: | แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับพออยู่ พอกิน กรณีศึกษาบ้านหนองปลิง หมู่ที่ 9 ตำบลโคกกะเทียม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี |
Other Titles: | Development approach for uplifting sufficient economy village (sufficient to survive, sufficient to eat level) : a case study of Nongpling Village Moo 9 Khok Katiam Sub-district, Muang Lopburi District, Lopburi Province |
Authors: | จําเนียร ราชแพทยาคม สิริลักษณ์ อินทรชัย, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การพัฒนาชุมชน--แง่เศรษฐกิจ--ไทย--ลพบุรี |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับพออยู่ พอกิน กรณีศึกษาบ้านหนองปลิง หมู่ที่ 9 ตำบลโคกกะเทียม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี (2) ศึกษาปัญหาและแนวทางการ แก้ไขในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับพออยู่พอกิน กรณีศึกษาบ้านหนองปลิง หมู่ที่ 9 ตำบลโคกกะเทียม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี และ (3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับพออยู่พอกิน กรณีศึกษาบ้านหนองปลิง หมู่ที่ 9 ตำบลโคกกะเทียม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาแบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ ผู้นำชุมชน ตัวแทนชาวบ้านที่ดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้นำชุมชนที่ไม่เป็นทางการกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 22 คนใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับพออยู่พอกิน บ้านหนองปลิง หมู่ที่ 9 ตำบลโคกกะเทียม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงได้แก่ โดยการใช้เวทีประชาคมในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ร้อยละ 70 ของครัวเรือน มีการส่งเสริมการออมทรัพย์ และจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน (2) 1)ปัญหาของบ้านหนองปลิง คือ ก) ด้านการลดรายจ่าย ชาวบ้านไม่นิยมทำงานที่ยาก เสียเวลา และยังนิยมการดื่มสุราและอบายมุข ข) ด้านการเพิ่มรายได้ ขาดเงินทุน ความรู้ ทักษะ ในการทำอาชีพเสริม ขาดตลาดรองรับ ค) ด้านการประหยัด ชาวบ้านส่วนมากไม่มีเงินเหลือออม ง) ด้านการเรียนรู้ เยาวชนไม่สนใจ จะเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นความรู้และการนำหลักการเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันยังไม่ดีพอ จ) ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ความรู้และความเข้าใจในการใช้วัตถุดิบอย่างยั่งยืนในการประกอบอาชีพน้อย ฉ) ด้านความเอื้ออารี ชาวบ้านยังขาดความสมัครใจในการช่วยเหลือคนจน คนด้อยโอกาส 2) แนวทางการแก้ไขในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับพออยู่พอกิน บ้านหนองปลิง หมู่ที่ 9 ตำบลโคกกะเทียม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ก) ด้านบทบาทผู้นำชุมชนควรใช้ศักยภาพของผู้นำชุมชนและการดำเนินการที่เข้มแข็งเป็นปัจจัยที่ส่งเสริม ให้เกิดความสำเร็จในการพัฒนา ข) ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ทุนทางสังคมทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ชุมชนเข้มแข็ง สอนให้ชาวบ้านเรียนรู้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ค) เพื่อส่งเสริมแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ง) ส่งเสริมปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จ โดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การมีวินัยในการใช้จ่าย การเพิ่มรายได้ และการบูรณาการร่วมกัน และ (3) เสนอแนะการพัฒนาเพื่อยกระดับหมู่บ้านหนองปลิง หมู่ที่ 9 ตามแนวทางการ ดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้ ก) หน่วยงานภาครัฐควรให้ความรู้สร้างความเข้าใจด้านการลดรายจ่าย ข) หน่วยงานภาครัฐและเอกชนควรสนับสนุนให้ความรู้และเงินทุนในการประกอบอาชีพ ค) สมาชิกครัวเรือนทำบัญชี รายรับ รายจ่าย ง) คนรุ่นใหม่ควรสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น จ) สร้างจิตสำนึกด้านจิตอาสาให้แก่ชาวบ้าน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8488 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_144750.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License