กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8491
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการซื้อของฝากประเภทอาหารและของขบเคี้ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย จังหวัดภูเก็ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Purchasing behavior of Thai Tourists for food and snack souvenirs in Phuket Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณิชชา มโนมธุรพจน์, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด --การศึกษาเฉพาะกรณี
ของที่ระลึก--การจัดซื้อ--ไทย--ภูเก็ต
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการซื้อของฝากประเภทอาหารและของขบเคี้ยว จังหวัดภูเก็ต (2) พฤติกรรมการซื้อของฝากประเภทอาหารและ ของขบเคี้ยว (3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการซื้อของฝากประเภทอาหารและ ของขบเคี้ยว การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ จำนวนนักท่องเที่ยวที่ซื้อของฝากประเภทอาหารและของขบเคี้ยว จังหวัดภูเก็ต ซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่าง 2 ขั้นตอน คือ การเจาะจงร้านของฝาก และตามสะดวก เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ และใช้สถิติเชิงอนุมาน คือ ค่าไควสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในระหว่าง 31-40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ขนาดครอบครัวมีสมาชิก 3 คน เป็นพนักงานเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระหว่าง 20,001-30,000 บาท (2) ข้อมูลพฤติกรรมการซื้อของนักท่องเที่ยวชาวไทย พบว่าได้แหล่งข้อมูลร้านขาย ของฝากจากทางอินเตอร์เนต ร้านของฝากที่ซื้อ คือ ร้านพรทิพย์ ปัจจัยการเลือกร้านของฝาก คือ ผลิตภัณฑ์รสชาติอร่อย มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ วัตถุประสงค์ในการซื้อเพื่อฝากสมาชิกในครอบครัว/ญาติ เป็นการตัดสินใจเลือกซื้อ ด้วยตัวเอง ส่วนของฝากประเภทอาหารที่ซื้อบ่อย ได้แก่ นํ้าพริกกุงเสียบ และของขบเคี้ยวที่ซื้อบ่อย คือ ขนมเต้าส้อ ความถี่ในการซื้อระหว่าง 1-2 ครั้งต่อปี ระยะเวลาเฉลี่ยในการซื้อต่อครั้ง น้อยกว่า 1 ชั่วโมง มูลค่าการซื้อต่อครั้ง ระหว่าง 1,000-2,000 บาท ช่วงเวลาที่ซื้อ คือ ช่วงบ่าย 12:01 – 16:00 น. ความประทับใจในการซื้อซ้ำ คือคุณภาพสินค้าสดใหม่ บรรจุภัณฑ์สวย มีความหลากหลายให้เลือก จุดเด่นของตราสินค้าที่ซื้อ คือ บรรจุภัณฑ์สวย มีหลายขนาด การส่งต่อ ความรู้สึกที่มีต่อตราสินค้าที่ชอบโดยการบอกต่อ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการซื้อ ของนักท่องเที่ยวพบว่า เพศ มีความสัมพันธ์กับแหล่งข้อมูลร้านขายของฝากที่ได้รับ และมูลค่าการซื้อต่อครั้ง ด้านอายุ มีความสัมพันธ์กับแหล่งข้อมูลร้านขายของฝากที่ได้รับ วัตถุประสงค์ในการซื้อ มูลค่าการซื้อต่อครั้ง และจุดเด่นของ ตราสินค้าที่ซื้อ ด้านระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับแหล่งข้อมูลร้านขายของฝากที่ได้รับและมูลค่าการซื้อต่อครั้ง ด้านขนาดครอบครัวมีความสัมพันธ์กับปัจจัยการเลือกร้านขายของฝาก ด้านอาชีพมีความสัมพันธ์กับแหล่งข้อมูลร้านขาย องฝากที่ได้รับ วัตถุประสงค์ในการซื้อและมูลค่าการซื้อต่อครั้ง และด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับแหล่งข้อมูลร้านขายของฝากที่ได้รับและมูลค่าการซื้อต่อครั้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8491
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_151880.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons