Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8495
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์th_TH
dc.contributor.authorอรวรรณ เพ็ญสุภา, 2502-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-08-06T07:12:08Z-
dc.date.available2023-08-06T07:12:08Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8495en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิผลของการสื่อสารยุทธศาสตร์ภายในองค์การของกรมศุลกากร (2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการสื่อสารยุทธศาสตร์ภายในองค์การของกรมศุลกากร (3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการสื่อสารยุทธศาสตร์ภายในองค์การของกรมศุลกากรให้มีประสิทธิผลที่สูงขึ้น การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) บุคลากรของหน่วยงาน ภายในกรมศุลกากร จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 357 คน ใช้วิธีการสุ่มเลือกตัวอย่างแบบชั้นภูมิ 2) ผู้บริหารระดับสูง วิธีการสุ่มเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แบบสอบถามรวบรวมข้อมูล เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารระดับสูง การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการสังเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย และการจำแนกชนิดข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิผลของการสื่อสารยุทธศาสตร์ภายในองค์การของกรมศุลกากรมีค่ามากกว่าร้อยละ 80 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (2) ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในองค์การ ปัจจัยผู้นำ ปัจจัยเนื้อหาของการสื่อสาร ปัจจัยหน่วยงานด้านยุทธศาสตร์ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับประสิทธิผลของการสื่อสารยุทธศาสตร์ภายในองค์การของกรมศุลกากร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 มีขนาด ความสัมพันธ์ระดับสูง ปัจจัยช่องทาง/วิธีการสื่อสารมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน กับประสิทธิผลของการสื่อสารยุทธศาสตร์ภายในองค์การของกรมศุลกากร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 มีขนาดความสัมพันธ์ระดับ ปานกลาง (3) ข้อเสนอแนะ กรมศุลกากรควรจัดให้มีการเชื่อมต่อการสื่อสารภายในกรมศุลกากรให้ครอบคลุม หน่วยงานของกรมศุลกากรในทุกพื้นที่ พัฒนาช่องทางการสื่อสารยุทธศาสตร์ทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ข้อมูลที่สื่อสารควรกระชับ ชัดเจน บุคลากรภายในกรมศุลกากรมีพื้นฐานการรับรู้แตกต่างกันมีความเข้าใจข้อมูลที่ได้รับอาจไม่ตรงกัน ดังนั้น การถ่ายทอดวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์กรมศุลกากร จากผู้บังคับบัญชาสู่ผู้ปฏิบัติงานจึงควรคำนึงถึงประเด็นเหล่านี้ด้วย การศึกษาครั้งต่อไป เห็นควรศึกษา เรื่องกรอบการประเมินระดับความสำเร็จของการสื่อสารยุทธศาสตร์กรมศุลกากรสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยพิจารณาจาก เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และกรอบการประเมินผลตามคำรับรองการปฏิบัติ ราชการของสำนักงาน ก.พ.ร.th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการสื่อสารในองค์การth_TH
dc.titleประสิทธิผลของการสื่อสารยุทธศาสตร์ภายในองค์การของกรมศุลกากรth_TH
dc.title.alternativeEffectiveness of the strategy communications within an organization : a case study of Thai Customsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study aims to; (1) study the effectiveness of strategic communications within Thai Customs, (2) study the factors related to the effectiveness of strategic communications within Thai Customs, and (3) propose the guidelines for highereffective strategic communications. This study is a survey research. The population is divided into two groups. 1) The personnel of of Thai Customs, 357 samples were obtained using stratified random sampling method. 2) Three senior executives by specific selection. The tools used in this study were 1) questionnaire collects both quantitative and qualitative data 2) in-depth interview of senior executives. Quantitative data analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation, T-Test and correlation analysis. Qualitative data analysis used analytic induction and typological analysis. The result shows that; (1) the effectiveness of strategic communications within Thai customs is greater than the 80 percent at the significance level of 0.05, (2) in overview, and the internal environment factor, the leader factor, the communication content factor, the strategic agency factor are correlated to the effectiveness of strategic communications within the organization at the level of significance 0.05, high level of relations of the same direction, and the channel and method of communication factor correlates to the effectiveness of strategic communications within the organisation at the level of significance 0.05 and medium level of relations of the same direction. (3) It is suggested that Thai customs should extend the communication network within the organization to comprehensively involve the departments in all another locations by development of strategic communication channel though electronics network. The content should be clarified and concise to enable all personnel to ensure that the vision and strategy are transferred from senior executives to operational personnel effectively. Further study should investigate the evaluation framework of the success of the transferring of the strategic communication to concrete operation by considering a quality measure and the evaluation framework appved by Office of the Public Sector Development Commission, DPDC.en_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_152105.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.43 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons