กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8495
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิผลของการสื่อสารยุทธศาสตร์ภายในองค์การของกรมศุลกากร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effectiveness of the strategy communications within an organization : a case study of Thai Customs
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์
อรวรรณ เพ็ญสุภา, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การสื่อสารในองค์การ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิผลของการสื่อสารยุทธศาสตร์ภายในองค์การของกรมศุลกากร (2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการสื่อสารยุทธศาสตร์ภายในองค์การของกรมศุลกากร (3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการสื่อสารยุทธศาสตร์ภายในองค์การของกรมศุลกากรให้มีประสิทธิผลที่สูงขึ้น การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) บุคลากรของหน่วยงาน ภายในกรมศุลกากร จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 357 คน ใช้วิธีการสุ่มเลือกตัวอย่างแบบชั้นภูมิ 2) ผู้บริหารระดับสูง วิธีการสุ่มเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แบบสอบถามรวบรวมข้อมูล เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารระดับสูง การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการสังเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย และการจำแนกชนิดข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิผลของการสื่อสารยุทธศาสตร์ภายในองค์การของกรมศุลกากรมีค่ามากกว่าร้อยละ 80 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (2) ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในองค์การ ปัจจัยผู้นำ ปัจจัยเนื้อหาของการสื่อสาร ปัจจัยหน่วยงานด้านยุทธศาสตร์ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับประสิทธิผลของการสื่อสารยุทธศาสตร์ภายในองค์การของกรมศุลกากร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 มีขนาด ความสัมพันธ์ระดับสูง ปัจจัยช่องทาง/วิธีการสื่อสารมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน กับประสิทธิผลของการสื่อสารยุทธศาสตร์ภายในองค์การของกรมศุลกากร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 มีขนาดความสัมพันธ์ระดับ ปานกลาง (3) ข้อเสนอแนะ กรมศุลกากรควรจัดให้มีการเชื่อมต่อการสื่อสารภายในกรมศุลกากรให้ครอบคลุม หน่วยงานของกรมศุลกากรในทุกพื้นที่ พัฒนาช่องทางการสื่อสารยุทธศาสตร์ทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ข้อมูลที่สื่อสารควรกระชับ ชัดเจน บุคลากรภายในกรมศุลกากรมีพื้นฐานการรับรู้แตกต่างกันมีความเข้าใจข้อมูลที่ได้รับอาจไม่ตรงกัน ดังนั้น การถ่ายทอดวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์กรมศุลกากร จากผู้บังคับบัญชาสู่ผู้ปฏิบัติงานจึงควรคำนึงถึงประเด็นเหล่านี้ด้วย การศึกษาครั้งต่อไป เห็นควรศึกษา เรื่องกรอบการประเมินระดับความสำเร็จของการสื่อสารยุทธศาสตร์กรมศุลกากรสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยพิจารณาจาก เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และกรอบการประเมินผลตามคำรับรองการปฏิบัติ ราชการของสำนักงาน ก.พ.ร.
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8495
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_152105.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons