Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8527
Title: การเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินในการป้องกันปัญหาการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม
Other Titles: Increasing efficiency of the asset and liability examination to prevent conflicts between personal and public interests
Authors: วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
คณิตรา พยัคกุล, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
การขัดกันแห่งผลประโยชน์
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน ในการป้องกันปัญหาการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบทรัพย์สินและการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม การเปรียบเทียบกระบวนการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของไทยกับต่างประเทศการวิเคราะห์ปัญหาการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินในการป้องกันความขัดแย้งกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม และการกำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีการตรวจสอบทรัพย์สิน และหนี้สินให้มีประสิทธิภาพและปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในอันที่จะเป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณ ภาพด้วยวิธี การวิจัยทางเอกสาร จากหนังสือ ตำรา เอกสารทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ บทความ วารสาร ตัวบทกฎหมาย ข้อมูลจากสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา และเอกสาร อื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการตรวจสอบทรัพย์สิน และหนี้สินไม่มีประสิทธิภาพ เพียงพอในการป้องกันปัญหาการขัดแย้งกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ไม่มีบทบัญญัติกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับ กิจการหรือธุรกิจใด ๆ หรือหุ้นส่วนในกิจการหรือนิติบุคคลใด ก่อนเข้ารับตำแหน่งจึงเป็นช่องว่างของกฎหมายที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ นำกิจการหรือธุรกิจดังกล่าวไปใช้ แสวงหาผลประโยชน์ในทางที่มิชอบ จึงควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีการตรวจสอบ ทรัพย์สินและหนี้สินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8527
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_157827.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.4 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons