กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8538
ชื่อเรื่อง: สิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหาร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The rights of victims in criminal cases which not in military court jurisdiction
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กรีฑาพล จิตรวงค์นันท์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
ผู้เสียหาย
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเกี่ยวกับแนวความคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความเสมอภาค ทฤษฎีความรับผิดทางอาญา เช่น ความรับผิดทางอาญาระบบกฎหมายลาย ลักษณ์อักษร ความรับผิดทางอาญาระบบจารีตประเพณี ระบบการดำเนินคดีแบบไต่สวน และ กล่าวหา แนวความคิดการดำเนินคดีอาญาโดยผู้เสียหาย ประชาชนและโดยรัฐ สิทธิของผู้เสียหาย ในคดีอาญาในศาลทหารประเทศสหรัฐอเมริกากับศาลทหารและศาลยุติธรรมของประเทศไทย สิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 (4) สรุปและเสนอแนะ สิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจาก หนังสือ บทความ เอกสารราชการ คำพิพากษาและการสืบค้นข้อมูล จากอินเตอร์เน็ต โดยนำมาวิเคราะห์กับปัญหาในทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า ผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหารไม่มีสิทธิที่จะเป็นโจทก์ฟ้องคดีในศาลทหารต้องมอบคดีให้อัยการทหารเป็นผู้ฟ้อง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาหลาย ประการ อาทิเช่น ปัญหาคำสั่งไม่ฟ้องในคดีอาญาของอัยการทหาร ปัญหาไม่มีสิทธิในการแต่งตั้ง ทนายความ จึงเสนอแนะให้มีการแก้ไข ปรับปรุง พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 49 และมาตรา 55 เพื่อความเสมอภาคกันในการฟ้องคดีของผู้ที่อยู่ในอำนาจศาลทหารและผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารและเป็นการอำนวยความยุติธรรมของคู่ความ ในคดีอาญาในศาลทหารอย่างเต็มที่รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับวิวัฒนาการของสังคม และสิทธิ ความเสมอภาคที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8538
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_158488.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons