กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8540
ชื่อเรื่อง: ระบบการผลิตแบบลีนของอุตสาหกรรมรถยนต์กรณีศึกษาบริษัทโตโยต้า จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The lean manufacturing of automobile industry case study of Toyota Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวีณา ตั่งโพรสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เจษฎา ศรีรักษา, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: การผลิตแบบลีน
อุตสาหกรรมรถยนต์
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้(1) เพื่อศึกษาถึงเทคนิคและกระบวนการผลิตแบบลีนของโตโยต้า (2)เพื่อศึกษาการประยุกต์การจัดการผลิตแบบลีนที่สามารถนำไปใช้เพื่อประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาประเภทการสังเคราะห์ทฤษฎี และผลงานวิจัยโดยศึกษาจากตำรา เอกสารทางวิชาการ และบทความจากวารสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการผลิตแบบดีน แล้วจึงนำมาวิเคราะห์ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า (1) เทคนิคและกระบวนการผลิตแบบลีน ได้แก่ ระบบการผลิต แบบดึง ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี เทคนิค 5 ส. ระบบคัมบัง การปรับเรียบการผลิตและตารางการผลิต การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ระบบการบริหารคุณภาพโดยรวม เทคนิคต่างๆ เป็น เครื่องมือในการจัดกระบวนการที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้แก่องค์กร โดยการพิจารณาคุณค่าใน การดำเนินงานเพื่อมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า มุ่งคุณค่าในตัวสินค้า และจำกัดความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลกำไรให้ธุรกิจได้ (2) การจัดการผลิตแบบลีนสามารถนำไปใช้เพื่อประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้ ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยซึ่งสามารถลดระยะเวลาการเก็บสต็อกสินล้าในโรงงานได้ ถึง 4 เท่าจาก 30-45 วันเหลือ เพียง 10 วัน อุตสาหกรรมบริการ เช่น โรงพยาบาล นำระบบลีนมาใช้ จัดการด้านวัตถุดิบ เวลา ข้อมูล และสินค้าคงเหลือทำให้องค์กรลดความสูญเปล่าทำให้องค์กรมุ่ง พัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพ รวมทั้งต่อตัวโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ พยาบาล รวมไปถึงหมอและบุคลากรทั้งหมด อุตสาหกรรมเหล็ก ระบบลีนช่วยให้สามารถลดระยะเวลาการผลิตลง โดยเฉลี่ยได้มากกว่ารัอยละ 47.3 จาก 16.24 วันเป็น 8.56 วัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8540
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
124678.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.68 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons