Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8550
Title: | การให้การปรึกษาเป็นรายบุคคลตามทฤษฎีการให้การปรึกษาแบบวิเคราะห์ลักษณะบุคคลและองค์ประกอบเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อยาบ้าของผู้ต้องขังคดีค้ายาบ้าในเรือนจำกลางบางขวาง |
Other Titles: | The individual counseling based on the trait factor theory that changed the attitude of amphetamine of the amphetamine sellers who were prisoners in Bangkwang Central Prison |
Authors: | วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา เมธี นิ่มนวล, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --การศึกษาเฉพาะกรณี นักโทษ--การให้คำปรึกษา |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับของทัศนคติทางบวกต่อยาบ้าของผู้ต้องขัง คดีค้ายาบ้า (2) เปรียบเทียบทัศนคติทางบวกต่อยาบ้าของผู้ต้องขังคดีค้ายาบ้าในกลุ่มทดลองก่อน และหลังการให้การปรึกษาแบบวิเคราะห์ลักษณะบุคคลและองค์ประกอบ และ (3) เปรียบเทียบ ทัศนคติทางบวกต่อยาบ้าของผู้ต้องขังคดีค้ายาบ้าในกลุ่มทดลองหลังการให้การปรึกษาแบบวิเคราะห์ลักษณะบุคคลและองค์ประกอบและระยะติดตามผล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ต้องขังคดีค้ายาบ้าในเรือนจำกลางบางขวาง แดน 6 จำนวน 8 คน ได้ จากผู้ต้องขังคดีค้ายาบ้าจำนวน 62 คนซึ่งมีคะแนนจากการทำแบบสอบถามทัศนคติต่อยาบ้าตั้งแต่ เปอร์เซ็นต์ไทค์ที่ 75 ขึ้นไป และเต็มใจเข้าร่วมโปรแกรมการให้การปรึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบสอบถามทัศนคติต่อยาบ้าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .94 (2) โปรแกรมการให้การปรึกษาเป็นรายบุคคลตามทฤษฎีการให้การปรึกษาแบบวิเคราะห์ลักษณะ บุคคลและองค์ประกอบเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อยาบ้าของผู้ต้องขัง ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบริลคอกซัน ผลการวิจัยที่พบ (1) ผู้ต้องขังคดีค้ายาบ้ามีมีค่าเฉลี่ยทัศนคติด้านความรู้เชิงประเมินค่า ต่อยาบ้าเท่ากับ 2.59 ด้านความรู้สึกต่อยาบ้าท่ากับ 2.60 และด้านแนวโน้มการแสดงออกต่อยาบ้า เท่ากับ 2.70 โดยมีทัศนคติทางบวกต่อยาบ้าโดยรวมอยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.66 (2) ผู้ต้องขังคดีค้ายาบ้าในกลุ่มทดลองมีทัศนคติทางบวกต่อยาบ้าหลังการทดลองน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ผู้ต้องขังคดีค้ายาบ้าในกลุ่มทดลองมีทัศนคติ ทางบวกต่อยาบ้าหลังการทดลองและระยะติดตามผลไม่แตกต่างกัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8550 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_149984.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License