กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8553
ชื่อเรื่อง: ชุดการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศวิชาภาษาอังกฤษเรื่องอาหารกับชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Electronic learning center instructional packages in the foreign language learning area on food and daily life for Mathayom Suksa III Students under the office of Nakhon Sawan Primary Education Service Area 3
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาสนา ทวีกุลทรัพย์
อำภา อ่อนสำอาง, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นฤมล ตันธสุรเศรษฐ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
ภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--นครสวรรค์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อาหารกับชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) ศึกษาความก้าวหน้าของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนธารทหาร (แสงสว่างอุปถัมภ์) จำนวน 46 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือในการวิจัย คือ (1) ชุดการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อาหารกับชีวิตประจำวันจำนวน 3 หน่วย คือ หน่วยที่ 9 Shopping and Hobbies หน่วยที่ 10 Party with My Friends และหน่วยที่ 11 Invitations (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อชุดการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อาหารกับชีวิตประจำวัน ที่ผลิตขึ้นทั้ง 3 หน่วย มีประสิทธิภาพ 80.74/81.62, 81.42/81.76 และ 80.41/81.08 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 (2) นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนจากชุดชุดการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อชุดการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ในระดับเห็นด้วยมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8553
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
130299.pdfเอกสารฉบับเต็ม32.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons