Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8557
Title: การพัฒนาชุดการสอนวิชากีตาร์เบื้องต้นสำหรับผู้เรียนผู้ใหญ่โดยใช้ดีวีดีเป็นสื่อหลัก กรณีศึกษาโรงเรียนดนตรีเครือข่ายสยามกลการ
Other Titles: Development of an instructional package in the basic guitar course for adult learners with the use of digital versatile disc as the main media : a case study of Siamkolkarn Network Music School
Authors: สุมาลี สังข์ศรี
วิทยา วอสเบียน, 2495-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สมคิด พรมจุ้ย
สุพจน์ ยุคลธรวงศ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการศึกษานอกระบบ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ดนตรี--การศึกษาและการสอน
กีตาร์--การสอนด้วยสื่อ
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนวิชากีตาร์เบื้องต้นสำหรับผู้เรียนผู้ใหญ่โดยใช้ดีวีดีเป็นสื่อหลัก กรณีศึกษาโรงเรียนดนตรีเครือข่ายสยามกลการ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนผู้ใหญ่ที่เรียนด้วยชุดการสอนที่พัฒนาขึ้น และ (3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อชุดการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 32 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนแล้ว สุ่มอย่างง่ายจากประชากรทั้งหมดได้แก่ ผู้เรียนวิชากีตาร์เบื้องต้นในโรงเรียนดนตรีเครือข่ายสยามกลการในเขตกรุงเทพมหานคร ช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2554 จำนวน 48 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) ชุดการสอนวิชากีตาร์เบื้องต้นสำหรับผู้เรียนผู้ใหญ่ประกอบด้วย (1.1) เอกสารการสอนแบ่งเป็น 6 หน่วย คือ หน่วยที่ 1 เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกีตาร์ หน่วยที่ 2 เรื่องโน้ตสากลและคอร์ดขั้นพื้นฐาน หน่วยที่ 3 เรื่องคอร์ดและการเล่นสลับของแนวเบส หน่วยที่ 4 เรื่องโน้ตบนสายที่ 1 และ 2 หน่วยที่ 5 เรื่องโน้ตบนสายที่ 3 และ 4 และ หน่วยที่ 6 เรื่องโน้ตบนสายที่ 5 และ 6 และ (1.2) ดีวีดี สำหรับเป็นสื่อหลักของหน่วยการเรียนทั้ง 6 หน่วย (2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบคู่ขนานสำหรับทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อชุดการสอน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.88/80.50 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของผู้ที่เรียนด้วยชุดการสอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อชุดการสอนอยู่ในระดับมาก
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การศึกษานอกระบบ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8557
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
133790.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons